กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดงานสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเจริญพระชนมายุครบ ๖๖ พรรษา ๒ เมษายน ๒๕๖๔ และการแนะนำโครงการหอจดหมายเหตุ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในพระราชดำริ ฯ ครั้งที่ ๔ เรื่อง “๕๔ ปี การก่อตั้ง ‘อาเซียน’ และปฏิกิริยาจากโลกมหาอำนาจและเพื่อนบ้าน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศและนักวิชาการอาวุโส” ณ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ผ่านสื่ออิเส็กทรอนิกส์ (ออนไลน์) ในวันอังคารที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เวลา ๐๘๒๐-๑๕๐๐ น.

พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมการสัมมนาเฉลิมพระเกียรติฯ เรื่อง “๕๔ ปี การก่อตั้ง ‘อาเซียน’ และปฏิกิริยาจากโลกมหาอำนาจและเพื่อนบ้าน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศและนักวิชาการอาวุโส” ผ่านระบบออนไลน์ ณ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔

          พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงร่วมการสัมมนาเรื่อง “๕๔ ปี การก่อตั้ง ‘อาเซียน’ และปฏิกิริยาจากโลกมหาอำนาจและเพื่อนบ้าน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศและนักวิชาการอาวุโส” ผ่านระบบออนไลน์ ณ กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก ในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ โดยมีสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเป็นเจ้าภาพร่วม

การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เจริญพระชนมายุ ๖๖ พรรษา และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหอจดหมายเหตุกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าในพระราชดำริฯ โครงการหอจดหมายเหตุฯ มีจุดประสงค์ในการสำเนาเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ในหอจดหมายเหตุต่างประเทศเพื่อนำมารักษาไว้ที่กองวิชาประวัติศาสตร์ฯ และเปิดบริการให้นักวิชาการ นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาสามารถเข้าถึงเพื่อค้นคว้าและวิจัยเอกสารชั้นต้นจากต่างประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การจัดสัมมนาจึงเป็นการแนะนำเอกสารที่ได้สำเนามา โดยส่วนใหญ่เคยเป็นเอกสารลับที่ได้รับการเปิดเผยเมื่อครบกำหนดตามกฎระเบียบหอจดหมายเหตุของแต่ละประเทศ (ตั้งแต่ ๓๐ ปีถึง ๑๐๐ ปี) ในอดีต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าเคยจัดสัมมนาในหัวข้อเกี่ยวกับสงครามโลกและสงครามเย็น รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับต่างประเทศ อาทิ สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐเกาหลี

          ในส่วนของช่วงเช้าของการสัมมนาในปีนี้ พลเอกหญิง ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงปาฐกถาพิเศษผ่านระบบออนไลน์ (แอปพลิเคชัน Zoom) ในหัวข้อ “ความร่วมมือในอาเซียน” และทรงร่วมฟังภาพรวมการวิจัยหัวข้ออาเซียนในประเทศไทยตลอดจนบทบาทของไทยในอาเซียนในอดีตและปัจจุบัน โดยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม อีกทั้งผู้แทนอาวุโสจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศร่วมเป็นวิทยากร ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการเสนอผลงานการวิจัยของนักวิชาการจากหลายสถาบันการศึกษา ว่าด้วยมุมมองของประเทศสำคัญต่ออาเซียนซึ่งวิเคราะห์จากเอกสารชั้นต้นจากหอจดหมายเหตุในประเทศหรือพื้นที่นั้น อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย อินเดีย สหรัฐอเมริกา เวียดนาม กัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี และจีนไต้หวัน

ทั้งนี้ ตลอดการสัมมนาในที่ตั้ง ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าได้ปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ของ ศบค. อย่างเคร่งครัด