banner Histdept

Vmenu

ทัศนะ
nayok_news_date
พ.ศ. 2544, 2545, 2546, 2547

 มติชน, วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2546 ปีที่ 26 ฉบับที่ 9315, หน้า 10  

  2 ปี 11 กันยายน (2) โลกเปลี่ยน-ชีวิตเปลี่ยน  
รายงานพิเศษ

โลกของคนบางคนก่อนหน้าและภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน แตกต่างกันมากมายเหลือเกิน ความแตกต่างดังกล่าวนำหลายอย่างมาสู่ชีวิต ดีหรือร้ายก็เป็นความเปลี่ยนแปลงที่บางครั้งไม่อาจหวนกลับอีกต่อไป

แม้ทุกคนตระหนักว่าวิถีแห่งชีวิตผันแปรได้ไม่แน่ไม่นอน กระนั้นไม่มีผู้ใดคาดหมายความเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในวันนั้นเป็นอันขาด

เออิชา เอล-วาฟี ก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ 9-11 สำหรับเธอ เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายทั้งปวง

ชื่อ เออิชา เอล-วาฟี อาจฟังแปลกหู แต่ถ้าบอกว่าเธอคือแม่ของ ซาคาเรียส มุสซัวอี หลายคนถึงบางอ้อ มุสซัวอีเป็นคนเดียวที่ถูกตั้งข้อหาและถูกดำเนินคดีในศาลอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ 11 กันยายน

กล่าวหากันว่า มุสซัวอีก็คือสลัดอากาศคนที่ 12 ที่ไม่ไปตามนัด เพราะถูกควบคุมตัวได้ก่อนหน้าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น

ลูกสาว หนึ่งในจำนวนหลายคนของเออิชา เป็นผู้แจ้งข่าวร้ายแก่เธอในวันนั้น ผ่านทางสายโทรศัพท์มายังบ้านก่ออิฐริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เธอเห็นภาพมุสซัวอีผ่านข่าวทางหน้าจอโทรทัศน์ ทันทีที่รับรู้เรื่องราวเบื้องต้นพอเข้าใจ แม่ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโมร็อกโกทำได้เพียงแค่พึมพำกับตัวเอง "ได้โปรดบอกหน่อยเถิดว่านี่ไม่ใช่ความจริง"

เธอเดินพล่านไปทั้งบ้าน สายตาเหม่อลอยบางครั้งจับต้องไปที่ภาพวัยเด็กของลูกชายที่เธอไม่เคยพบหน้ามาตั้งแต่ปี 1997 ลูกชายที่กำลัง "มีปัญหา" อยู่ในอีกฟากฝั่งของมหาสมุทร

"เหมือนฟ้าถล่มลงมาตรงหน้า" เธอบอก

ทุกวันนี้ เออิชา เอล-วาฟี เดินทางไปกลับสหรัฐอเมริกาบ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยเหยียบย่างไปที่นั่น เธอไปเยี่ยมลูกชาย จับจ้องมองหน้าเขาผ่านแผ่นพลาสติกใสแต่หนาที่ขวางกั้น

ดวงตาเหนื่อยล้าร่ำไห้บ่อยครั้ง เธอติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์เป็นประจำ-ไม่เหมือนเมื่อก่อน เออิชาเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นข่าวสาร เอกสารทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีของลูกชายไว้อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากซองพลาสติกแบบที่เด็กนักเรียนใช้ ลามไปเป็นกล่องกระดาษหลายกล่อง และในกระเป๋าเสื้อผ้าในที่สุด เธอต้องอาศัยยานอนหลับบ่อยครั้งมากขึ้นเพื่อให้ได้มีโอกาสพักผ่อน

วันนี้ เออิชาหยิบรูปเด็กชายมุสซัวอีมาจับจ้องอีกครั้ง เธอมองมือน้อยๆ ในภาพอย่างเหม่อลอย...หวาดหวั่น

"มันเล็กเหลือเกิน...ฉันกลัวว่าจะไม่ได้แตะ ไม่ได้จูบมันอีกต่อไปแล้ว"!!

โลกหลัง 11 กันยายน เปลี่ยนวิถีของ โมฮัม หมัด โซหีบ อีร์ฟราน ซิดดีกี ไปโดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกัน ประสบการณ์ที่เขาพานพบมาเป็นยิ่งกว่าฝันร้าย

เมื่อโมฮัมหมัดต้องการเดินทางจากเม็กซิโก ประเทศที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในขณะนี้เพื่อกลับปากี สถานบ้านเกิดเมืองนอน เขามักใช้เส้นทางผ่านสหรัฐอเมริกา มันเร็วกว่าและถูกกว่า เขาจะไปที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเม็กซิโกซิตี้ แล้วขอทรานสิตวีซ่า ที่นั่น

ครอบครัวของโมฮัมหมัดมีภัตตาคารอยู่ในโปลันโก ย่านผู้ดีในเมืองหลวงของเม็กซิโก เจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกันไปที่นั่นบ่อยครั้ง พวกเขาช่วยให้โมฮัมหมัดได้ทรานสิตวีซ่าระยะยาว 5 ปี มันเพิ่งหมดอายุลงเมื่อปี 1999

เมื่อปีที่แล้ว โมฮัมหมัดต้องการเดินทางกลับการาจีเพื่อเยี่ยมพ่อ จึงนัดหมายกับสถานทูตเพื่อ ทำวีซ่าฉบับใหม่ เขาพบประสบการณ์ขนหัวลุก ที่นั่น

โมฮัมหมัดถูกแยกไปยังห้องซักถามตามลำพัง พิมพ์ลายนิ้วมือ เขาถูกซักละเอียดยิบครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเดินทางเยือนปากีสถาน และถูกขอให้จำแนกแยกแยะที่มาของเงินจำนวนเพียง 80 เหรียญอย่างถี่ยิบ

"ผมประหม่า กลัว...มันเหมือนกับผมกลายเป็นโอซามา บิน ลาเดน ยังไงยังงั้น รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นผู้ต้องหาที่มานั่งอยู่หน้ามหาอำนาจ"

จนกระทั่งถึงเดือนที่แล้ว เขายังไม่ได้รับข่าวคราวเรื่องวีซ่าของตัวเอง แต่เขาเดินทางมาการาจีจนได้ อาศัยเส้นทางผ่านมาดริด โรม ดูไบ มันจำเป็นต้องใช้เวลา 2 วัน และใช้เงินเพิ่มจากเดิมอีก 500 ดอลลาร์

เขาไม่ต้องการสหรัฐอเมริกาอีกต่อไปแล้ว!!

ลกของคนบางคนก่อนหน้าและภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน แตกต่างกันมากมายเหลือเกิน ความแตกต่างดังกล่าวนำหลายอย่างมาสู่ชีวิต ดีหรือร้ายก็เป็นความเปลี่ยนแปลงที่บางครั้งไม่อาจหวนกลับอีกต่อไป

แม้ทุกคนตระหนักว่าวิถีแห่งชีวิตผันแปรได้ไม่แน่ไม่นอน กระนั้นไม่มีผู้ใดคาดหมายความเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในวันนั้นเป็นอันขาด

เออิชา เอล-วาฟี ก็เช่นเดียวกัน ประสบการณ์ 9-11 สำหรับเธอ เป็นเรื่องนอกเหนือความคาดหมายทั้งปวง

ชื่อ เออิชา เอล-วาฟี อาจฟังแปลกหู แต่ถ้าบอกว่าเธอคือแม่ของ ซาคาเรียส มุสซัวอี หลายคนถึงบางอ้อ มุสซัวอีเป็นคนเดียวที่ถูกตั้งข้อหาและถูกดำเนินคดีในศาลอย่างเป็นทางการในสหรัฐอเมริกา สืบเนื่องจากเหตุการณ์ 11 กันยายน

กล่าวหากันว่า มุสซัวอีก็คือสลัดอากาศคนที่ 12 ที่ไม่ไปตามนัด เพราะถูกควบคุมตัวได้ก่อนหน้าเหตุการณ์จะเกิดขึ้น

ลูกสาว หนึ่งในจำนวนหลายคนของเออิชา เป็นผู้แจ้งข่าวร้ายแก่เธอในวันนั้น ผ่านทางสายโทรศัพท์มายังบ้านก่ออิฐริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส เธอเห็นภาพมุสซัวอีผ่านข่าวทางหน้าจอโทรทัศน์ ทันทีที่รับรู้เรื่องราวเบื้องต้นพอเข้าใจ แม่ชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโมร็อกโกทำได้เพียงแค่พึมพำกับตัวเอง "ได้โปรดบอกหน่อยเถิดว่านี่ไม่ใช่ความจริง"

เธอเดินพล่านไปทั้งบ้าน สายตาเหม่อลอยบางครั้งจับต้องไปที่ภาพวัยเด็กของลูกชายที่เธอไม่เคยพบหน้ามาตั้งแต่ปี 1997 ลูกชายที่กำลัง "มีปัญหา" อยู่ในอีกฟากฝั่งของมหาสมุทร

"เหมือนฟ้าถล่มลงมาตรงหน้า" เธอบอก

ทุกวันนี้ เออิชา เอล-วาฟี เดินทางไปกลับสหรัฐอเมริกาบ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เธอไม่เคยเหยียบย่างไปที่นั่น เธอไปเยี่ยมลูกชาย จับจ้องมองหน้าเขาผ่านแผ่นพลาสติกใสแต่หนาที่ขวางกั้น

ดวงตาเหนื่อยล้าร่ำไห้บ่อยครั้ง เธอติดตามข่าวสารทางโทรทัศน์เป็นประจำ-ไม่เหมือนเมื่อก่อน เออิชาเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งที่เป็นข่าวสาร เอกสารทางกฎหมายเกี่ยวกับคดีของลูกชายไว้อย่างต่อเนื่อง เริ่มจากซองพลาสติกแบบที่เด็กนักเรียนใช้ ลามไปเป็นกล่องกระดาษหลายกล่อง และในกระเป๋าเสื้อผ้าในที่สุด เธอต้องอาศัยยานอนหลับบ่อยครั้งมากขึ้นเพื่อให้ได้มีโอกาสพักผ่อน

วันนี้ เออิชาหยิบรูปเด็กชายมุสซัวอีมาจับจ้องอีกครั้ง เธอมองมือน้อยๆ ในภาพอย่างเหม่อลอย...หวาดหวั่น

"มันเล็กเหลือเกิน...ฉันกลัวว่าจะไม่ได้แตะ ไม่ได้จูบมันอีกต่อไปแล้ว"!!

โลกหลัง 11 กันยายน เปลี่ยนวิถีของ โมฮัม หมัด โซหีบ อีร์ฟราน ซิดดีกี ไปโดยสิ้นเชิงเช่นเดียวกัน ประสบการณ์ที่เขาพานพบมาเป็นยิ่งกว่าฝันร้าย

เมื่อโมฮัมหมัดต้องการเดินทางจากเม็กซิโก ประเทศที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในขณะนี้เพื่อกลับปากี สถานบ้านเกิดเมืองนอน เขามักใช้เส้นทางผ่านสหรัฐอเมริกา มันเร็วกว่าและถูกกว่า เขาจะไปที่สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุงเม็กซิโกซิตี้ แล้วขอทรานสิตวีซ่า ที่นั่น

ครอบครัวของโมฮัมหมัดมีภัตตาคารอยู่ในโปลันโก ย่านผู้ดีในเมืองหลวงของเม็กซิโก เจ้าหน้าที่ของสถานทูตอเมริกันไปที่นั่นบ่อยครั้ง พวกเขาช่วยให้โมฮัมหมัดได้ทรานสิตวีซ่าระยะยาว 5 ปี มันเพิ่งหมดอายุลงเมื่อปี 1999

เมื่อปีที่แล้ว โมฮัมหมัดต้องการเดินทางกลับการาจีเพื่อเยี่ยมพ่อ จึงนัดหมายกับสถานทูตเพื่อ ทำวีซ่าฉบับใหม่ เขาพบประสบการณ์ขนหัวลุก ที่นั่น

โมฮัมหมัดถูกแยกไปยังห้องซักถามตามลำพัง พิมพ์ลายนิ้วมือ เขาถูกซักละเอียดยิบครั้งแล้วครั้งเล่าเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเดินทางเยือนปากีสถาน และถูกขอให้จำแนกแยกแยะที่มาของเงินจำนวนเพียง 80 เหรียญอย่างถี่ยิบ

"ผมประหม่า กลัว...มันเหมือนกับผมกลายเป็นโอซามา บิน ลาเดน ยังไงยังงั้น รู้สึกเหมือนตัวเองเป็นผู้ต้องหาที่มานั่งอยู่หน้ามหาอำนาจ"

จนกระทั่งถึงเดือนที่แล้ว เขายังไม่ได้รับข่าวคราวเรื่องวีซ่าของตัวเอง แต่เขาเดินทางมาการาจีจนได้ อาศัยเส้นทางผ่านมาดริด โรม ดูไบ มันจำเป็นต้องใช้เวลา 2 วัน และใช้เงินเพิ่มจากเดิมอีก 500 ดอลลาร์

เขาไม่ต้องการสหรัฐอเมริกาอีกต่อไปแล้ว!!

ระสบการณ์ต่อเหตุการณ์ 11 กันยา ของ เด่นดาว จงจิตร อาจไม่เหมือนผู้อื่น แต่มันก็ยังเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ประทับมั่นอยู่ในจิตใจของเธอเหมือนคนอื่นเช่นเดียวกัน

เธออายุ 19 ยากจน พ่อแม่ทิ้ง ข้นแค้นจนต้องรองน้ำฝนลูบท้องยืดชีวิต เธอต้องการเป็นพยาบาล และพยายามเหลือเกินที่จะให้เป็นไปตามที่ใฝ่ฝัน แต่ยังไม่ประสบผล จนกระทั่งเหตุการณ์ 11 กันยายนผ่านเลยไป เธอจึงถูกเลือกให้ได้รับเงินก้อนเป็นรายปี ปีละ 10,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนของเธอเองจากทุนการศึกษาของ "ศรัญญา ศรีนวล"

"หนูคิดว่าเธอเป็นเศรษฐินีสูงอายุที่เสียชีวิตไปแล้ว ลูกหลานให้ทุนการศึกษาในนามของท่าน" ตรงกันข้าม ศรัญญาอายุไม่มากนัก เธอเกิดในนิวยอร์กก็จริง แต่บิดาเป็นคนนครศรีธรรมราชเช่นเดียวกับเด่นดาว

ศรัญญาเป็นพนักงานค้าพันธบัตรให้กับแคนเตอร์ ฟิตซ์เจอรัลด์ ไฮ ในเวิลด์เทรด เซ็น เตอร์-เธอเสียชีวิตในวันนั้น

แต่ความเป็นเธอยังก่อให้เกิดความเปลี่ยน แปลงมาจนถึงขณะนี้

แม้จะห่างไกลถึงอีกซีกโลกก็ตามที

[Top]

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า