นครนายกเมืองใหม่  (Nakorn nayok New Town - NNT)

 

พ.ต. ผศ. ดร. ศรศักร ชูสวัสดิ์

                                                                                                                                กปศ. สกศ. รร.จปร.

                                                                                                                                                22 ธันวาคม 2546

 

                การศึกษาเรื่องนครนายกเมืองใหม่ฉบับนี้อาศัยข้อมูลส่วนใหญ่จากหนังสือพิมพ์รายวันและรายสัปดาห์ต่าง ๆ ซึ่งเผยแพร่ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ไม่ได้ใช้ข้อมูลจากเอกสารราชการโดยตรง เนื่องจากโครงการเมืองใหม่ที่รัฐบาลประกาศจะดำเนินการยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจน  ดังนั้นข้อมูลบางส่วนที่ปรากฏในงานชิ้นนี้จึงอาจขัดแย้งกัน  และยากที่จะยืนยันได้ว่าข้อมูลใดถูกต้อง

 

ภูมิหลัง

                รัฐบาลหลายชุดในอดีตมีโครงการสร้างเมืองใหม่ และมีการสำรวจพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น ฉะเชิงเทรา สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท แต่ไม่มีรัฐบาลใดตัดสินใจดำเนินการ จนกระทั่งวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้สั่งการให้ดำเนินการสร้างเมือง-ใหม่ มีอ. บ้านนา จ. นครนายกเป็นศูนย์กลาง  และนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโครงการ

                ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เตรียมยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามบริเวณที่ดินที่จะสร้างเมืองใหม่ เพื่อป้องกันการกว้านซื้อทีดินเก็งกำไร อีกทั้งให้ พล.ท. ปรีชา วรรณรัตน์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำหน้าที่ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการสร้างเมืองใหม่ และมอบให้นายเทอดเกียรติ ศักดิ์คำ-ดวง ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมืองและการพัฒนาเมือง ศึกษาการสร้างเมืองใหม่ [1]  ดังนั้นโครงการเมือง-ใหม่ที่นครนายกได้มีการศึกษามานานแล้ว "จนมีการศึกษาโครงการทั้งหมดเกือบเสร็จ"[2] แต่นายก-รัฐมนตรีตัดสินใจแน่นอนในวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546

                ในวันดังกล่าว นายกรัฐมนตรีได้ประชุมตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองใหม่ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงคมนาคม  ในบ่ายวันเดียวกัน  น.ต. ศิธา ทิวารี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ชี้ขาดเพื่อกำหนดกรอบการดำเนินการจัดสร้างเมืองใหม่ ดังนี้

 

                                1. ให้จัดสร้างเมืองใหม่ในจังหวัดนครนายก เนื้อที่ 1.5 แสนไร่ มีอำเภอบ้านนาเป็นศูนย์กลาง เป็นนครนายกเมืองใหม่ (Nakhonnayok New Town -NNT) โดยใช้ "ทามะเมืองใหม่"  (Tama New Town - TNT)  ประเทศญี่ปุ่น เป็นเมืองต้นแบบ*

                                2.  ให้สร้างเป็นเมืองสำหรับอยู่อาศัย ที่ปลอดมลภาวะ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สาธารณูปโภคครัน สถานที่ท่องเที่ยวและโรงแรม ไม่มีโรงงานที่ก่อให้เกิดมลภาวะ และไม่ใช่เมือง-ราชการ อาจมีหน่วยราชการเพียง 2-3 หน่วย

                                3. ให้จัดตั้งบรรษัทพัฒนาในรูปองค์การมหาชน มีหน้าที่ดังนี้

                                    3.1 กำหนดกรรมวิธีจัดหาที่ดิน เช่น การซื้อในราคาปัจจุบัน  การออกพันธบัตร ซึ่งใช้หักกลบลบหนี้ได้ ถ้าต้องการซื้อที่ดินในโครงการภายหลัง การแลกเปลี่ยนที่ดินภายในกับภายนอกโครงการ

                                    3.2  จัดการปกครองรูปแบบพิเศษคล้ายเมืองพัทยา ให้สามารถกำหนดกฎระเบียบและบริหารเมืองในระยะยาว 

                                4. การก่อสร้างสาธารณูปโภคในเมืองใหม่ ให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องดูแลการก่อสร้างสาธารณูปโภค เช่น อ่างเก็บน้ำ สายไฟฟ้าใต้ดิน โดยรัฐเป็นผู้ลงทุน คาดว่าลงทุนไม่มาก เพราะปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างอยู่บ้างแล้ว

                                5. การสร้างเส้นทางทางคมนาคมทางบก

                                    5.1 ถนนรามอินทรา-นครราชสีมา

                                    5.2 ทางรถไฟจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-กรุงเทพฯ-เมืองใหม่

                                6. การสร้างที่อยู่อาศัย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ

                                    6.1 การเคหะแห่งชาติรับผิดชอบก่อสร้างบางส่วน

                                    6.2 ผู้อยู่อาศัยรับผิดชอบก่อสร้างเอง

                                7. สิทธิพิเศษแก่ผู้อาศัย อาจให้สิทธิพิเศษเพื่อดึงให้คนเข้าพักอาศัย เช่น ยกเว้นหรือเก็บภาษีในอัตราต่ำ

                                8. ระยะเวลาดำเนินการ ให้แล้วเสร็จใน 6-8 ปี และก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ (พ.ศ. 2554)

                                9. มีการตั้งอนุกรรมการ 12 ชุดทำหน้าที่รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ[4]

               

ต่อมาในรายการวิทยุ "นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน" วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546  นายกรัฐ-มนตรีได้กล่าวย้ำแนวคิดในการจัดสร้างเมืองใหม่ ดังนี้

                                1. เหตุผลในการจัดสร้างเมืองใหม่ เพื่อบรรเทาความหนาแน่นของกรุงเทพฯ

                                2. พื้นที่ดำเนินโครงการ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1.6 – 2 แสนไร่

                                3. การติดต่อระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองใหม่ได้สะดวก ด้วยการเชื่อมทางรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟธรรมดา และทางด่วน เพื่อให้วิ่งติดต่อกับกรุงเทพฯ ได้ในเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง

                                4. ลักษณะเมือง

                                   4.1  เป็นเมืองสะอาด และมีความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต ซึ่งเกิดจากการเป็นเมืองที่รวมความดี 2 ด้านเข้าด้วยกันคือ

                                          4.1.1 ความงามทางธรรมชาติ  ได้แก่ สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ศิลปะ วัฒนธรรม และสุขอนามัย

                                          4.1.2 เทคโนโลยีสมัยใหม่ (modern technology)

                                  4.2  เป็นศูนย์กลางการเงินสมัยใหม่

                                  4.3 การบริหารงานสมัยใหม่ ด้วยการตั้งบรรษัทใหม่ให้ทำหน้าที่บริหาร และมีกฎหมายพิเศษขึ้นมาเพื่อบริหาร

                                5. ระยะเวลาการดำเนินการ 6-8 ปี

                                6. การเริ่มโครงการ "เร็ว ๆ นี้"[5]

 

 

เมืองใหม่ และพระราชดำริ

                หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์สรุปไว้ว่า โครงการสร้างเมืองใหม่เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

               

"ว่ากันว่าพ...ทักษิณ ชินวัตร กล่าวให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีฟังว่า ในหลวงเคยปรารภไว้ว่าต้องการเห็นเมืองใหม่ที่เป็นเมืองสะอาดไร้มลพิษ อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯเพื่อลดความแออัดเมืองหลวง" 

 

จากพระราชดำริ นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ฯ จึงได้เริ่มให้ศึกษาหาทำเลก่อสร้างเมืองใหม่ในทางลับทันที โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ไปศึกษา  ซึ่งในเวลานั้นมีการโต้เถียงกันว่า "รัฐสภาแห่งใหม่จะอยู่ที่ไหน" แต่ไม่มีใครกล่าวถึงเรื่องการสร้างเมืองใหม่

                นอกจากนั้นหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ยังระบุว่า เจตนารมณ์หลักของนายกรัฐมนตรีก็เพื่อให้เมืองใหม่เป็นศูนย์กลางการเงิน และ ICT แห่งเอเชีย เพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ[6]

 

ประมาณการใช้จ่าย : แผนเก่า-ไม่ใช่แผนใหม่

                นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ฯ กล่าวว่า งบประมาณที่รัฐบาลจะใช้ในโครงการนี้ประมาณไม่เกิน 1 แสนล้านบาท[7]  เนื่องจากให้เอกชนร่วมทุน แต่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจระบุว่า เฉพาะด้านสาธารณูปโภคใช้งบประมาณ 1.66 แสนล้าน  และกล่าวด้วยว่า แท้จริงแล้ว โครงการสร้างเมืองใหม่ที่นครนายกนั้น มีการศึกษาไว้อย่างดีแล้ว โดยสำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการ-จราจรและขนส่ง (สจร.) เคยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาโครงการเมืองใหม่ไว้แล้ว ซึ่งเป็นพื้นที่เดียวกับที่นายกรัฐมนตรีเลือก  สำหรับงบประมาณตามแผนการเดิมที่วางไว้เป็นดังนี้

1. ระบบคมนาคมและขนส่งในเมือง ถนนสายประธาน 4,535 ล้านบาท สายหลัก 5,105 ล้านบาท สายรอง 7,490 ล้านบาท สายย่อย 5,400 ล้านบาท และระบบขนส่งสาธารณะ 3,330 ล้านบาท

2. ระบบคมนาคมและขนส่งนอกเมือง ทางหลวงพิเศษและทางด่วน 88,659 ล้านบาท ทางหลวงสายประธาน 1,405 ล้านบาท ทางรถไฟ 8,600 ล้านบาท

3. ระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ แยกเป็นระบบน้ำประปา 10,030 ล้านบาท ระบบไฟฟ้า 1,770 ล้านบาท ระบบโทรศัพท์และโทรคมนาคม 870 ล้านบาท ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม 6,750 ล้านบาท ระบบบำบัดน้ำเสีย 6,450 ล้านบาท ระบบกำจัดขยะ 3,180 ล้านบาท รวมระบบสาธารณูปโภค 6,160 ล้านบาท การศึกษา 2,750 ล้านบาท กีฬา 3,630  ล้านบาท

การลงทุนและคืนทุน

รายงานการศึกษาที่หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจอ้างถึง คาดว่า การลงทุนสร้างเมืองใหม่จะได้ทุนคืนใน 8 ปี  โดยใน 5 ปีแรกจะไม่มีรายได้จากการขายที่ดิน เพราะ 3 ปีแรกจะเป็นเรื่องการ-เวนคืนที่ดิน 2 ปีหลังใช้ในการก่อสร้างถนน และจะได้รับการจัดสรรที่ดินแบบให้เปล่าใน 5 ปีแรก และต้องระดมเงินทุนถึง 27,774 ล้านบาท "ในปีที่ 6 คาดว่าจะได้เงินประมาณ 24,354 ล้านบาท ถ้านับจากปีที่ 6 ขึ้นไป องค์กรจะมีรายได้เพียงพอต่อสาธารณูปโภคและการบริหาร โดยไม่ต้องระดมทุน"  ในรายงานระบุด้วยว่า  เมื่อได้ทุนคืนแล้ว เมืองใหม่จะมีเงินสะสม 6,770 ล้านบาท และมีกระแสเงินสดสูงสุด 43,297 ล้านบาท เท่ากับว่ามีอัตราผลตอบแทนทางการเงินร้อยละ 17.7  ดังนั้นโครงการจึงสามารถระดมเงินกู้มาสร้างเมืองได้ เพราะดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีอยู่ที่ร้อยละ 5.75[8]  จึงเหมาะกับการลงทุน

 

ขั้นตอนการดำเนินการ

                1. การสำรวจพื้นที่เพื่อเตรียมออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน และออก พ.ร.บ.เมืองใหม่ กำหนดเขตที่ดินและพื้นที่ครอบคลุมการพัฒนาทั้งหมด

                2. การเร่งจัดตั้ง "บรรษัทพัฒนาเมือง" ทำหน้าที่กำหนดขอบเขต และกรรมวิธีจัดหาที่ดินใหม่ โดยแบ่งเขตที่อยู่อาศัย และออกกฎระเบียบ

                3. ระหว่างรอจัดตั้งบรรษัท ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมโยธาและผังเมือง  กระทรวงมหาดไทย,  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง, กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกระทรวงคมนาคม อีกทั้งคณะอนุกรรมการ 12 ชุด ทำหน้าที่รับผิดชอบแต่ละส่วน

                4. การลงทุนอาศัยการออกพันธบัตร (bond) "ระดมทุนซื้อที่ดินใหม่ โดยตีมูลค่าที่ดินตามราคาตลาด แล้วถึงออกบอนด์ให้ตามจำนวน รวมทั้งใช้วิธีการแลกเปลี่ยนที่ดินด้านนอกโครงการด้วย และใช้กฎหมายผังเมืองหรือกฎหมายการจัดรูปที่ดินเข้าช่วย " เพื่อไม่ให้ "ราคาที่ต้องไม่แพงไปจากเดิม" ตามที่รัฐบาลประกาศ

                5. การสร้างสาธารณูปโภค หลังการระดมทุน จะได้เริ่มการสร้างระบบสาธารณูปโภค  ที่สำคัญคือระบบขนส่งและคมนาคม

                6. โครงการบ้านจัดสรร  จัดการแบ่งที่ดินเป็นเขตที่อยู่อาศัย เพื่อจัดมีการปกครองเฉพาะการก่อสร้างบ้านดำเนินการได้ 2 วิธี

                    6.1 ให้เอกชนเข้าไปทำโครงการบ้านจัดสรร โดยจูงใจด้วยการยกเว้นภาษี หรือ

                    6.2 ให้การเคหะแห่งชาติเป็นผู้พัฒนา[9]

 

พื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่เป้าหมาย

                การสร้างเมืองใหม่บนเนื้อที่ 1.6 –2 แสนไร่  โดยมี อ.บ้านนาเป็นศูนย์กลางนั้น ทำให้คาด-การณ์กันว่า พื้นที่ของเมืองใหม่จะครอบคลุม 3 อำเภอใน 2 จังหวัด ดังนี้

                1. จังหวัดนครนายก 1 อำเภอ ได้แก่  อ.บ้านนา (ต.ศรีกะอาง, ต.ป่าขะ, ต.เขาเพิ่ม, ต.บ้าน-พริก) (อ.องครักษ์จะเป็นเพียงทางผ่าน)

                2. จังหวัดสระบุรี 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วิหารแดง  (ต.ห้วยแก้ว, ต.คลองเชื่อม) และ อ.แก่งคอย (ต.ท่ามะปราง, ต.ชะอม)

                ส่วนแผนศึกษาเดิม ระบุว่าพื้นที่สร้างเมืองใหม่อยู่ใน "ตำบลห้วยแห้ง ท่ามะปราง ชะอม บ้านลำ เจริญธรรม คลองเรือ บ้านพริก ป่าขะ เขาเพิ่ม ศรีกะอาง"  แต่เนื่องจากหากทำตามแบบนี้ โครงการจะมีพื้นที่อยู่ติดกับตีนเขาใหญ่ ซึ่งคาบเกี่ยวกับ 2 ตำบล คือ ต. ห้วยแห้ง และท่ามะปราง ดังนั้น 2 ตำบลนี้อาจถูกตัดออกไป แล้วขยายออกไปทาง อ. หนองแค จ. สระบุรี และ อ. บ้านนา จ. นครนายก[10]

 

วิธีการได้พื้นที่

                1. การเวนคืนที่ดิน ด้วยการออก พ.ร.ฎ สำรวจและเวนคืนที่ดิน เป็นไปได้ว่า ไม่ใช่การเวนคืนแบบผืนใหญ่  กล่าวคือ ยังรักษาชุมชนเดิมเอาไว้ 

  (หมายเหตุ ดร. คำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เคยชี้แจงไว้ว่า การสำรวจพื้นที่ได้ดำเนินการไปแล้ว การเวนคืนที่ดินจะให้กระทบชุมชนน้อยที่สุด[11])

                2. การใช้พื้นที่ราชพัสดุ ซึ่งเป็นพื้นที่ผืนเดียวกับ รร.จปร. ที่ถูกเวนคืนมาตั้ง พ.ศ. 2484 สำหรับใช้ในราชการทหาร[12]  หนังสือพิมพ์บางฉบับคาดว่าจะมีการนำที่ดินส่วนนี้มาใช้สร้างเมืองใหม่ประมาณ 25,000 ไร่[13]

 

โครงสร้างเมืองใหม่ - เมืองศูนย์กลางและเมืองบริวาร

                หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ชี้ให้เห็นว่า นายกรัฐมนตรีให้นโยบายการไว้ว่า ให้สร้างเมืองใหม่ โดยมีเมืองศูนย์กลาง และเมืองบริวาร 4 แห่ง เมืองบริวารห่างจากเมืองศูนย์กลางในรัศมี 30 กิโลเมตร เมืองบริวารประกอบด้วย[14]

1. อ. บ้านนา จ. นครนายก เป็นเมืองที่อยู่อาศัยและการศึกษา
                                2. อ. วิหารแดง จ. สระบุรี เป็นเมืองอุตสาหกรรม

3. อ. องค์รักษ์ จ. นครนายก ประมาณคลอง 19 ติดกับ อ. หนองเสือ จ. ปทุมธานี เป็นเมืองการศึกษาและสาธารณสุข
                                4. อ. เมืองนครนายกเป็นเมืองท่องเที่ยว
[15]

 

"เมืองบริวารที่ถูกจัดตั้งขึ้นมานี้จะมีกิจกรรมของตัวเองแต่เป็นกิจกรรมขนาดเล็ก เช่นมีย่านการค้าของตัวเองเป็นช้อปปิ้งมอลล์ขนาดเล็ก มีโรงพยาบาลขนาดเล็ก มีโรงเรียนมัธยม อนุบาลและมีสถานที่เพื่อพักผ่อนหรือออกกำลังกายเล็กๆแต่จะไม่ใหญ่เหมือนเมืองแม่"

 

นอกจากนั้นหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ยังให้ข้อมูลว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีโครงการสร้างวิทยาเขตใหม่ในพื้นที่ 8,000 ไร่ ซึ่งซื้อไว้นานแล้ว และตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหม่[16]

 

แบบอาคารพาณิชย์และบ้านในเมืองใหม่

                กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ออกแบบบ้านตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีสำหรับแจกให้ประชาชนไว้เลือกใช้ก่อสร้างที่อยู่อาศัย  แบ่งเป็น 3 แบบ ได้แก่ "ไทยช่วยไทย" "บ้านไทยอนุรักษ์ไทย" และ "บ้านไทยเป็นสุข"  ทั้งนี้พบว่ากรมโยธาฯ ได้เตรียมแบบบ้านแบบที่ 2 และ 3 สำหรับก่อ-สร้างในเมืองใหม่ด้วย  กล่าวคือ แบบที่ 2  เป็นอาคารพาณิชย์  ส่วนแบบที่ 3 จะใช้เป็น "ต้นแบบ" ของบริษัทที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างบ้านในเมืองใหม่

 

ผลกระทบ : ใครได้-ใครเสีย

                1. ระดับรากหญ้า (ชุมชนและประชาชนทั่วไป)

                      1.1  พื้นที่เป้าหมาย มีชุมชนตั้งอยู่บนเนื้อที่รวมประมาณ 20,000 ไร่

                      1.2  ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทหาร (ที่ราชพัสดุ) ต้องย้ายออกไป ต้องเสียค่าชดเชยจำนวนมาก (ดูหน้า 8)

                2. ระดับชนชั้นกลางและนายทุน

                      2.1 การขยายตัวของรีสอร์ทและบ้านพักตากอากาศล่วงหน้า  มีรายงานว่า มีการ-ขยายตัวของธุรกิจรีสอร์ทและบ้านพักมาก่อนหน้านี้แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิด "บ้านนายพัน" ที่บ้านหินดาษ ม. 13 ต.เขาเพิ่ม จ.นครนายก

                      2.2 การขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรโดยเฉพาะในเขตจังหวัดปทุมธานี มีนัก-วิเคราะห์เห็นว่า โครงการนครนายกเมืองใหม่ส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดปทุมธานีด้วย กล่าวคือ ทำให้ราคาที่ดินสูงขึ้น และมีการก่อสร้างบ้านจัดสรรมากขึ้น การขยายตัวนี้อาจทำให้จังหวัดปทุมธานีเปลี่ยนจากพื้นที่เกษตรกรรมป็นพื้นที่อยู่อาศัย  พื้นที่จังหวัดปทุมธานีที่มีแนวโน้มการขยายตัวของบ้านจัดสรรสูง ได้แก่

                            2.2.1 ริมถนนรังสิต-นครนายก

                           2.2.2 ริมถนนพหลโยธินจากรังสิต-พระนครศรีอยุธยา-สระบุรี

การขยายตัวดังกล่าวเป็นประโยชน์กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายเก่าไม่กี่ราย  เช่น บริษัทเฉลิมนคร เจ้าของโครงการบ้านสถาพร บริษัทพฤกษาเรียลเอสเตท เจ้าของโครงการ บ้านพฤกษาและบ้านภัสสร บริษัทวังทองกรุ๊ป เจ้าของหมู่บ้านวังทอง บริษัทเอ็นซีเฮ้าส์ซิ่ง จำกัด เจ้าของบ้านฟ้า แต่ก็เริ่มมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาแล้ว เช่น แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โฮมเพลสกรุ๊ป และแสนสิริ เป็นต้น[17]

                       2.3 การซื้อที่ดินของบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ล่วงหน้า มีรายงานว่า มีบริษัทเข้ามาซื้อที่ดินเพื่อเตรียมการขยายธุรกิจก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่

                             2.3.1 ฟาร์มไก่ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) [18]

                                2.3.1.1 จงเจริญ ฟาร์ม ซื้อที่ดินเพิ่ม 1-2 พันไร่แล้ว

                                2.3.1.2 บริษัทซันอาโก ต.ป่าขะ อ.บ้านนา

                                2.3.1.3 บริษัท 84  ขยายกิจการใน ต.บ้านพริก, เขาเพิ่ม, ป่าขะ

                             2.3.2 บริษัทเบียร์ช้างซื้อที่ดินใน อ.วิหารแดงประมาณ 1 หมื่นไร่[19]

                            2.3.3 บริษัทโคคา-โคลา ซื้อที่ดินกว่า 1 พันไร่ด้านทิศเหนือของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สำหรับสร้างโรงงานขนาดใหญ่ผลิตสินค้าส่งไปขายในอินโดจีน[20]

                อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์หลายฉบับระบุตรงกันว่า จากการสอบถามข้าราชการปกครอง และข้าราชการกรมที่ดิน ต่างยืนยันว่า การซื้อขายที่ดินยังอยู่ในระดับปกติ เช่น นางมนฤดี เวชภูติ ที่ดินจังหวัดนครนายกเปิดเผยว่า การซื้อขายที่ดินในจังหวัดนครนายกยังอยู่ในระดับปกติ และไม่มีการเก็งกำไร เช่นเดียวกับใน อ. วิหารแดง และอ.แก่งคอย จ.สระบุรี แต่ก็คาดการณ์ว่า เมื่อมีการ-สร้างเมืองใหม่ขึ้นจริง "น่าจะส่งผลดีต่อเจ้าของที่ดินตลอดจนโครงการโรงแรม รีสอร์ต ที่ดำเนิน-การอยู่ในปัจจุบันในพื้นที่ดังกล่าวและในบริเวณใกล้เคียงอย่างมาก" [21]

                3. ระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โครงการพัฒนาเส้นทางคมนาคมระหว่างกรุงเทพฯ กับเมืองใหม่ ซึ่งสอดรับกับการขยายถนนบ้านนา-แก่งคอย ที่จังหวัดนครนายกกล่าวว่า จะมีขึ้นในปี พ.ศ. 2548 รวมทั้งการพัฒนาเส้นทางหัวหิน-เมืองใหม่ ที่นายกรัฐมนตรีให้นโยบายไว้ จะส่งผลดีในด้านการคมนาคมระหว่างภาคใต้-ภาคกลาง-ภาคอีสาน และประเทศในอินโดจีน โดยเฉพาะกัมพูชา

                    3.1 การเพิ่มและขยายเส้นทางคมนาคมทางบก ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่ระหว่างกรุงเทพ ฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะช่วยลดระยะทางและเวลาในการเดินทาง

 

การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในระดับชาติ

                การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการคมนาคม ดร.คำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ให้ข้อมูลว่า มีการวางแผนเรื่องเส้นทางคมนาคมทาง-บกไว้หมดแล้ว  ดังนี้

                                1. การสร้างมอเตอร์เวย์  ต่อจากสายรามอินทราบริเวณปลายทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์-วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก (บางพลี-บางปะอิน) เชื่อมกับเมืองใหม่ (ระยะทางยาว 55 กิโลเมตร) แล้วจะมีการสร้างระยะต่อไปจากเมืองใหม่ไปเชื่อมแก่งคอย จังหวัดสระบุรี-นครราชสีมา (หากขยายไปถึงจังหวัดนครราชสีมา ระยะทางยาว 190 กิโลเมตร)

  (หมายเหตุ นายกรัฐมนตรีให้นโยบายกับคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกไว้ว่า การสร้างทางด่วนหัวหิน –  แหลมผักเบี้ย – เพชรบุรี – กรุงเทพฯ –  ควรต่อไปถึงเมืองใหม่ได้ โดยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง[22])

                                2. การสร้างทางรถไฟความเร็วสูง เป็นการสร้างต่อจากทางรถไปสายสนามบินสุวรรณภูมิ-มักกะสัน ผ่านเขตหนองจอก-ลาดกระบัง เชื่อมกับทางรถไปสายฉะเชิงเทรา-แก่งคอยที่มีอยู่เดิม

                                3. การสร้างทางด่วนต่อจากทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์  

                                4. การขยายถนนรังสิต-นครนายกเป็น 6 ช่องทางตลอดสาย (คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 ปี)

                                5. สร้างทางไฮเวย์เชื่อมเมืองใหม่กับถนนพหลโยธินที่บริเวณหินกอง[23]

 

การเปลี่ยนแปลงในจังหวัดนครนายกเพื่อรองรับเมืองใหม่

                การวางผังเมืองรวม หลังรัฐบาลประกาศจะสร้างเมืองใหม่  เป็นเวลาเดียวกันกับที่ผังเมืองเดิมของอำเภอเมืองนครนายกหมดอายุลงในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546 และมี พ.ร.ฎ  กำหนดเขตสำรวจ ซึ่งจังหวัดต้องทำผังเมืองรวมให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ. 2549  ดังนั้นเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546  ทางจังหวัดโดยสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.นครนายก จึงได้จัดสัมมนาในหัวข้อ "การวางผังเมืองรวมจังหวัดให้เป็นเมืองในฝัน"[24]  เพื่อจัดทำผังเมืองรวมของจังหวัด  ไม่ใช่เฉพาะอำเภอเมืองฯ  การสัมมนามีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคเอก-ชน นางแสงอรุณ วัฒนวงศ์ หัวหน้าสำนักงานโยธาธิการและผังเมือง จ.นครนายก กล่าวว่า

 

ผังเมืองจะเป็นเครื่องมือให้จังหวัด ท้องถิ่น และประชาชนมองเห็นภาพรวมของการพัฒนาพื้นที่ในอนาคต รวมทั้งมาตรการต่างๆ ด้านผังเมืองที่จะทำให้ จ.นครนายก เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย ดำรงรักษาแหล่งประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรมประเพณี ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ดี"[25]

 

ดังนั้นแม้รัฐบาลจะมีโครงการสร้างเมืองใหม่ แต่จังหวัดนครนายกไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ในการสัมมนาวางผังเมืองรวมครั้งนี้  จึงเน้นวางแผนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดเป็นหลัก ทั้งนี้มีภาพรวมของผังเมืองรวมจังหวัดนครนายกคือ สร้างนครนายกเป็นเมืองที่น่าอยู่ ดังนี้

                                1. เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และผจญภัย โดยดำรงรักษาแหล่งประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม สภาพแวดล้อมที่ดี  มีบริการด้านการท่องเที่ยว และมีจิตสำนึกในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

                                2. เป็นเมืองน่าอยู่ น่าภาคภูมิใจ ประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่ดี

                                3. เป็นแหล่งผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพ มีการนำเทคโนโลยีและวิชาการสมัย-ใหม่มาใช้ ชุมชนมีความเข้มแข็ง

                                4. เป็นแหล่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้[26]

 

กระนั้นก็ตาม ในการสัมมนาได้พิจารณาด้วยว่า จะ "ต้องทำให้เมืองรอบนอกและเมืองใหม่สมบูรณ์ไปพร้อม ๆ กัน ไม่เช่นนั้นเมืองใหม่ก็จะไม่สมบูรณ์"[27]   "สร้างเมืองรอบนอกรับเมืองใหม่ พัฒนาเมืองเก่าให้ดีขึ้น"  เนื่องจากการวางผังเมืองรวมจังหวัดต้องแล้วเสร็จภายในปี 2549[28]  ดังนั้น น่าเชื่อได้ว่า โครงการเมืองใหม่จะเริ่มดำเนินการไปแล้วอย่างน้อย 1-2 ปี  ก่อนจังหวัดนครนายกจะกำหนดผังเมืองรวมแล้วเสร็จ เพราะฉะนั้นผังเมืองรวมจังหวัดนครนายกจะสอดคล้องกับโครงการเมืองใหม่เป็นอย่างดี

                การดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนรัฐบาลประกาศสร้างเมืองใหม่ จังหวัดนครนายกมีแผนงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างเมืองใหม่บ้างแล้ว ดังนี้

                                1. การขยายถนนสายคลองท่าด่านเป็น 4 ช่องทาง เงินกว่า 400 ล้านบาท (งบประมาณปี 2547)

                                2. การขยายถนนบ้านนา-แก่งคอยเป็น 4 ช่องทาง (งบประมาณปี 2548)

 

ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น

                1. ความสับสน การประกาศดำเนินโครงการ โดยไม่มีแผนการปฏิบัติที่พร้อมดำเนินการรองรับ อีกทั้งจังหวัดนครนายกไม่มีข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนต้องการทราบเพียงพอ[29] ทำให้ประชาชนในวงกว้างในเกิดความสับสน ไม่แน่ใจ  และคาดการณ์ไปต่าง ๆ นานา นอกจากนั้นยังเปิดทางให้มีการหลอกลวง  เช่น มีการทำพิมพ์เขียวแล้วสำเนาขาย (แหล่งที่มาคือสถานีตำรวจ อ.วิหารแดง จ.สระบุรี)  ทีมงานหนังสือพิมพ์ "สยามธุรกิจ"ได้ลงพื้นที่สำรวจเมืองใหม่ และรายงานว่า

 

พบชาวบ้านแจ้งว่า ได้แผนที่แนวเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างเมืองใหม่มาจากสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านนา  เขาถ่ายเอกสารขายใบละ 20 บาท ประชาชนได้ข่าวก็พากันหลั่งไหลไปซื้อชนิดต้องเข้าคิวยาวเหยียด  เพราะอยากรู้ว่าที่ดินตัวเองถูกเวนคืนหรือไม่ ... พบแนวเวนคืนที่ชาวบ้านซื้อมีมากถึง  4 แนว แต่ละแนวไม่เหมือนกัน  และดูไม่ชัด อ่านไม่ออกว่าผ่านพื้นที่ไหนบ้าง ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำของพวกมิจฉาชีพ หรือบุคคลบางกลุ่มที่ต้องการปั่นราคาที่ดิน[30]

               

เกี่ยวกับพิมพ์เขียวนี้ นายสว่าง  ศรีศกุน อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ยืนยันว่า น่าจะเป็นของปลอม เนื่องจากการกำหนดเขตพื้นที่ยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะได้กำหนดเขตพื้นที่ไปบางแล้วบางส่วน ซึ่งคาบเกี่ยว 3 อำเภอ เนื้อที่ประมาณ  2 แสนไร่ แต่คาดว่า การพิจารณาจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ 

                ความสับสนมีในหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้น่าจะมาจาก ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการที่ชัดเจน โดยเฉพาะการเวนคืนที่ดิน ทำให้ข้าราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบไม่สามารถให้คำยืนยันใด ๆ ได้ เช่น

                                1.1 นางแสงอรุณ วัฒนวงศ์  หัวหน้าสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครนายก ชี้แจงว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจนของโครงการนี้ "ที่สำคัญคือ ยังไม่รู้ว่าพื้นที่ใดจะเป็นที่ตั้งของเมืองใหม่ จึงทำได้เพียงเตรียมพร้อมในเรื่องข้อมูล"[31]  "ในส่วนของเมืองใหม่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่ารัฐบาลจะเลือกพื้นที่ใด มีข่าวว่านครนายกอาจจะอยู่ในข่ายได้รับเลือก แต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรคงขึ้นอยู่กับรัฐบาล"[32]  อย่างไรก็ตามจังหวัดนครนายกได้เตรียมติดตามความคืบหน้าของโครงการแล้ว กล่าวคือ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการก่อนหน้านี้ นายเชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก เตรียมจัดตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งสำหรับติดตามเรื่องเมืองใหม่โดยเฉพาะ "เพื่อจะได้เตรียมการในด้านต่างๆ รองรับ และแจ้งข่าวสารที่ชัด-เจนให้ชาวบ้านที่สนใจรับทราบได้"[33]

                                1.2  ส่วนนายอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี ก็ไม่ทราบแผนงานของรัฐบาลเช่นกัน จึงไม่ทราบแน่ชัดว่าอำเภอวิหารแดงซึ่งอยู่ติดกับอำเภอบ้านนาจะถูกเวนคืน ที่ดินด้วยหรือไม่ แต่ก็พร้อมจะทำตามนโยบายของรัฐบาล เพราะเห็นว่า "ปัจจุบันวิหารแดงเป็นเมืองที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแรงงานที่ไปทำงานโรง งานในเขตอำเภอแก่ง-คอยและอำเภอหนองแค และเป็นเมืองปลอดสารพิษอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่อยู่ในเขตเมืองใหม่ วิหารแดงก็จะเป็นเมืองหน้าด่าน รวมทั้งเป็นฐานการผลิตอาหาร และเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญจากฝั่งถนนพหลโยธินไปยังฝั่งตะวันออก (เส้นทางสุวรรณศร หินกอง-หนองแค-จังหวัดสระแก้ว)" [34]

                                1.3 นายเผด็จ สุจเร นายอำเภอแก่งคอย จ.สระบุรี ไม่ทราบเช่นเดียวกันว่า พื้นที่ใดของอำเภอแก่งคอยจะอยู่ในเขตเมืองใหม่ แต่สันนิษฐานว่า "น่าจะเป็นพื้นที่ของตำบลชะอม ซึ่งอยู่ติดกับอำเภอบ้านนา ซึ่งสภาพพื้นที่บริเวณนั้นบางส่วนเป็นเทือกเขาและพื้นที่การเกษตร ไม่มีมล-พิษ"[35]

                2. ความปริวิตกและไม่พอใจของประชาชน เช่น  เกรงว่าจะได้ค่าชดเชยที่ดินราคาต่ำ  ประชาชนที่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวน (ต.ป่าขะ,  ต.ศรีกะอาง) และปลูกไม้ประดับ (ไม้ล้อม) (ต.ชะอม) ไม่แน่ ใจว่า หลังที่ดินถูกเวนคืนแล้ว จะไปประกอบอาชีพเดิมที่ใดได้ [36]  นอกจากนั้นประชาชนรู้สึกไม่เป็นธรรม ถ้ามีการชดเชยค่าที่ดินในราคาถูก แต่หลังจากที่ดินดังกล่าวได้รับการ-พัฒนาโดยการใช้เงินภาษีอากรของประชาชนแล้ว จะนำที่ดินไปจำหน่ายในราคาแพงเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า[37]

                3. การเก็งกำไรที่ดิน การซื้อขายที่ดินคึกคักขึ้น ทำให้ราคาขายสูงขึ้น แต่การซื้อขายจริงยังไม่เป็นปกติ

 

ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

                1.  ปัญหาของนครนายกจะเพิ่มขึ้น ถ้าปัญหาเก่ายังไม่ได้รับการแก้ไข การสัมมนาหัวข้อ "การวางผังเมืองรวมจังหวัดให้เป็นเมืองในฝัน" เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ตัวแทนจากหลายหน่วยงานมีความเห็นว่า นครนายกในปัจจุบันมีปัญหาหลายด้านอยู่แล้ว เช่น ปัญหาจราจร ขยะ น้ำเสีย การบังคับใช้กฎหมาย  การจัดระบบสาธารณูปโภค การจัดระเบียบร้านค้า   จึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วย[38]

                2. ความขัดแย้งระหว่างประชาชน เนื่องจากมีทั้งฝ่ายเห็นด้วย และคัดค้าน เช่น ประชาชนบ้านนาส่วนหนึ่งเป็นห่วงว่า "เมื่อมีเมืองใหม่เกิดขึ้น จะทำให้วิถีชีวิตตัวเองที่เคยเงียบสงบต้องเปลี่ยนแปลงไป และต้องหาที่อยู่ใหม่"  ในขณะที่บางคนเห็นว่า ความเจริญจะทำให้เศรษฐกิจอำเภอบ้านนาดีขึ้น  [39]

                3. การย้ายคนออกจากพื้นที่ การใช้พื้นที่ราชพัสดุที่ถูกทิ้งร้าง จนกระทั่งมีผู้บุกรุกเข้าถือครองกรรมสิทธิ์ "แน่นอนว่า ต้นทุนการไล่ที่เพื่อแลกกับกรรมสิทธิ์ย่อมต้องจ่ายแพง เป็นค่าชดเชยให้กับประชาชนที่อยู่มานาน เหมือนกรณีเวนคืนสร้างสนามบินใหม่สุวรรณภูมิ (หนองงูเห่า)" [40]

                4. การวิ่งเต้นของกลุ่มทุนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบ้านจัดสรร และผู้รับเหมาก่อสร้าง นายหน้าค่าที่ดิน และข้าราชการเมือง ทำนองเดียวกับการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[41]

 

ทัศนะของประชาชนในพื้นที่

ประชาชนในพื้นที่มีทั้งยินดี และไม่ยินดี "ยินดี เพราะความเจริญจะมาสู่บ้านช่อง ไม่ยินดี เพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะอยู่จุดไหนของโครงการ"  การสำรวจความคิดเห็นของชาวบ้าน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่คาดว่าจะถูกเวนคืนใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อำเภอวิหารแดง และอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีต่างมีความเห็นไปในแนวเดียวกันคือ "ยังสับสนกับโครงการ และต้องการคำอธิบายที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล"

                                1. ชาวบ้านที่บ้านป่าขะ ต. ป่าขะ และ ต. ศรีกะอาง ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน ส่วนมากเป็นคนพื้นที่ดั้งเดิม อยู่กันมาตั้งแต่ปู่ย่าตาทวด มีอาชีพทำสวนผลไม้ อาทิ ส้มโอ มังคุด มะยงชิด เพราะบริเวณนี้ที่มีความอุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้เชิงเขาคือ เทือกเขาใหญ่ และอากาศบริสุทธิ์  ไม่มีมล-ภาวะ จึงรู้สึกไม่พอใจกับการย้ายถิ่นที่อยู่ เช่น สำอาง ผึ้งทอง อายุ 38 ปี เจ้าของร้านค้าริมถนน ให้ความเห็นว่า


"ดีใจครับ ที่จะมีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นในนครนายก แต่ไม่เห็นด้วยกับการเวนคืน เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่เกิดและโตที่นี่ ทุกครอบครัวมีอาชีพเลี้ยงไก่ หมู ค้าขาย มีรายได้พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ถ้าต้องมาเวนคืนที่ดินของปู่ย่าตายาย ก็ไม่รู้จะไปทำอะไร ยังคิดไม่ออก แต่ถ้าออกมาเป็นกฎหมาย ก็ต้องจำใจยอม เพราะเราต้องทำตามกฎหมาย เพียงแต่ว่าขอให้ค่าตอบแทนที่ได้มาคุ้มกับการที่ต้องย้ายไปอยู่ที่อื่น"


และบอกว่า "อยากให้คิดให้รอบคอบ โดยเฉพาะกับคนแก่คนเฒ่า เป็นพวกติดที่อยู่ ลึกๆ แล้วเขาคงไม่อยากจะย้ายไปไหน อยากอยู่ในพื้นที่บ้านเกิด"

                                2. อาทิตย์ ทองสุข พ่อค้าต้นไม้ข้างถนนสายป่าขะ-แก่งคอย อ.บ้านนา บอกว่า สับสน และข่าวที่ออกมาทำให้เศรษฐกิจชะงัก "ขายไม่ออกเลยครับ เพราะเขาไม่กล้าซื้อต้นไม้ไปปลูก พอจะซื้อก็พูดว่า ไม่รู้จะปลูกไปทำไมเดี๋ยวถูกเวนคืนแล้วและเห็นว่า รัฐบาลน่าจะเวนคืนแค่ที่ดินข้างถนน 10-20 เมตร เพราะถ้าเวนคืนไปหมด จะลำบาก "อย่างผมมี 10 ไร่ มาเวนคืนไปหมด แล้วเอาที่ใหม่มาแลกให้ไปอยู่ อ.วัฒนานคร แบบนี้ให้ผม 50 ไร่ ก็ไม่คุ้ม เพราะเราทำอาชีพขายต้นไม้ ไปอยู่ตรงนั้นไม่รู้จะขายให้ใคร"[42]

                                3. หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจสรุปความเห็นของประชาชน ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ซึ่งเป็นเขตที่คาดว่าจะมีการก่อสร้างศูนย์ราชการ (พื้นที่สีน้ำเงิน)  ไว้ดังนี้

 

                ความวิตกกังวลของชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่สีน้ำเงิน หรือศูนย์ราชการ ก็คือกลัวว่าจะถูกเวนคืนที่ทำกินเพื่อใช้ก่อสร้างทำเนียบ รัฐบาล และรัฐสภา รวมทั้งบ้านพักข้าราชการ และหน่วยงานราชการอื่นๆ ที่จะย้ายเข้ามาในพื้นที่นี้ ราษฎรส่วนใหญ่ยินดีและภูมิใจที่รัฐ-บาลให้ความสำคัญกับตำบลชะอม ที่จะให้เป็นศูนย์กลางบริหารราชการของเมืองใหม่ แต่ชาวบ้านไม่ต้องการที่จะย้ายถิ่นทำกินไปจากที่เดิม ดังนั้นจึงเรียนให้นายกรัฐมนตรีได้ทราบถึงข้อเท็จจริงว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมและอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบ-ทวนและกำหนดโซนนิ่ง ใหม่ด้วย" [43]

               

                4. ส่วนชาวบ้าน ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนา และเลี้ยงสัตว์ เกรงว่า จะถูกเวนคืนที่ดินทั้งตำบล ทำให้ไม่รู้ชะตากรรมว่า "ในอนาคตจะไปอยู่ไหน และจะมีรายได้จากการประกอบอาชีพอะไร ค่าเวนคืนที่ดินรัฐก็จะจ่ายเป็นพันธบัตร"[44]

                                5. บุญสืบ สุขเนตร์ อดีตกำนันตำบลป่าขะ  เห็นด้วยกับการเวนคืน "ถ้ามาตั้งเมืองใหม่ที่นี่จริงก็ดี ชอบ บ้านนาจะได้เจริญ เท่าที่ผมเห็น ทุกคนปรารถนาความเจริญทั้งนั้น เสียงส่วน-รวมเอายังไง เราก็เอาอย่างนั้น อย่างบ้านผมทำกิจการปั๊มน้ำมัน เขาจะเวนคืน ผมยินดี เพราะเราไปสร้างปั๊มใหม่ที่ไหนก็ได้ แต่ราคาต้องอยู่ได้ด้วยนะ"[45]

 

ข้อเสนอซึ่งรวบรวมได้จากหนังสือพิมพ์

                ข้อเสนอที่รวบรวมได้จากหนังสือพิมพ์มีดังนี้

                                1. หาข้อสรุปเรื่องสถานที่ก่อสร้างอาคารรัฐสภาไปด้วย รวมทั้งทำเนียบรัฐบาล[46]  

                                2. ให้จัดสร้างเมืองศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาคเพื่อสกัดคนไม่ให้เข้าไปอยู่ใน กรุงเทพฯ และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นเมืองที่ไม่น่าอยู่ไปหมดแล้ว[47]

                                3. จัดสร้างศูนย์ราชการในเขตป่าเสื่อมโทรมในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  ซึ่งอยู่ติดกับต. ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี เพื่อเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่า ไม่ควรก่อสร้างในเขตหมู่-บ้านที่มีอุดมสมบูรณ์ นอกจากนั้นควรให้ชาวบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่เดิม ส่วนการสร้างศูนย์ราชการให้ทำในพื้นที่ว่างเปล่า[48]

                                4. ควรมีมาตรการป้องกันการเก็งกำไรในการค้าที่ดิน เช่น ประกาศราคาซื้อที่ดินในราคาประเมิน หากชาวบ้านจะอยู่ทำกินในพื้นที่เดิมต่อไป ให้อยู่อาศัยต่อไปได้ แต่ห้ามซื้อขายที่ดินเป็นเวลา 10 ปี แต่ให้ตกทอดแก่ทายาทได้  แต่ถ้านำที่ดินไปจำนอง หรือค้ำประกันเงินกู้ของเอก-ชน เมื่อมีการฟ้องบังคับคดี รัฐจะซื้อคืนในราคาประเมินตามที่เคยประกาศไว้[49]

 

ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

                1. รายละเอียดในการจัดทำโครงการที่ไม่ชัดเจนสร้างความสับสนและวิตกกังวลให้กับประชาชนในพื้นที่ที่คาดว่าจะเป็นพื้นที่เป้าหมาย ดังนั้นควรเร่งกำหนด Master Plan และประกาศให้ประชาชนทราบโดยเร็ว

                2.  มีแนวโน้มว่า ชุมชนต่างๆ อาจไม่ต้องการย้ายถิ่นที่อยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามน่าจะเริ่มมีกระแสต่อต้านบ้าง

แล้ว ดังจะพบได้ในคอลัมน์ "ชายคาหน้า 6"  ของฉลามเขียว ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 25 และ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546[50]   ดังนั้นในการกำหนดโครงการควรพยายามรักษาชุมชนเดิมไว้ให้มากที่สุด แล้วเวนคืนที่ดินและสร้างเมืองใหม่เฉพาะบริเวณที่ไม่กระทบชุมชนโดยตรง โครงการสร้างเมืองศูนย์กลาง และเมืองบริวารน่าจะเป็นคำตอบที่ดีกว่าการสร้างเมืองใหญ่เมืองเดียว

                3. ควรมีมาตรการกำหนดราคาที่ดินที่ทำให้ประชาชนรู้สึกเป็นธรรม

                4.  ขณะที่มีโครงการตัดและขยายถนนต่าง ๆ หลายสาย ไปเมืองใหม่ ไป ถนนมิตรภาพ - อ. แก่งคอย - นครราชสีมา แต่ไม่มีการพูดถึงโครงการขยายถนนนครนายก-สระแก้ว ซึ่งเป็นเส้นทางไปกัมพูชา และไม่มีโครงการตัดถนนสายใหม่ที่สามารถเชื่อมทางด่วนบริเวณมหาวิทยาลัยธรรม-ศาสตร์ ศูนย์รังสิต - อ.คลองหลวง -อ.หนองเสือ – นครนายก

                5. เป็นไปได้ยากที่เมืองใหม่จะประสบความสำเร็จรวดเร็วตามที่คาดการณ์ การเร่งรีบสร้างน่าจะทำให้เกิดปัญหาเช่นเดียวกับเมืองทามะใหม่ในระยะแรก อังกฤษเองยังประสบปัญหาที่แก้ไม่ตกกรณีสร้างเมืองใหม่แบบทันสมัยที่ Dockland ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน เนื่องจากมีธุรกิจไปเปิดกิจการน้อย และบ้านจัดสรรขายไม่ได้เพราะราคาแพง  นครนายกเมืองใหม่น่าจะประสบปัญหาเดียวกัน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์ประมาณว่า ผู้ที่จะอยู่อาศัยในเมืองใหม่ได้ต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่า 3.5 หมื่นบาท

----------------


 

[1] 'คุมเข้มที่ดินสร้างเมืองใหม่ นายกสั่งร่าง พรฎ. สกัดนายทุกแห่กว๊านซื้อเก็งกำไร,' แนวหน้า, 23 ก.ย. 2546, http://www.naewna.com/Last_Tue/p1.2.htm.

[2] 'รัฐบาลตั้งเป้าเนรมิตเมืองใหม่ 8 ปีเสร็จ เฉลิมฉลองครบ 7 รอบในหลวง "ทักษิณ" โดดอุ้มคุมเอง เร่งให้ทัน เผยยกทำเนียบ –สภาสู่บ้านนา,' แนวหน้า, 24 ก.ย. 2546, http://www.naewna.com/Last_Tue/p1.2.htm.

*  ญี่ปุ่นสร้างทามะเมืองใหม่ พ.ศ. 2511 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ทำให้ขาดแคลนที่อยู่อาศัยในกรุงโตเกียว เหตุผลที่เลือกเมืองนี้เพราะมีพื้นที่กว้าง แม้เป็นเนิน แต่ไม่ลาดชันและปรับพื้นที่ได้ง่าย สามารถเชื่อมทางรถไฟจากกรุงโตเกียวไปได้สะดวก ต่อมาพ.ศ. 2514 จึงก่อสร้างเสร็จเป็นรูปเป็นร่าง แต่ถูกวิจารณ์เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เสียไปเพราะการลดต้นทุนในการก่อสร้างและไม่มีมาตรการควบคุมการก่อสร้างที่ดีพอ นอกจากนั้นการไม่มีแผนการปรับปรุงชุมชนเมืองรองรับทำให้เมืองหยุดนิ่งไม่เติบโต จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 ทามะจึงได้ออกกฎหมายปรับปรุงชุมชนเมือง แหล่งบันเทิง ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทำให้ทามะกลายเป็นเมืองที่อยู่อาศัยสำหรับคนทำงานในกรุงโตเกียว และปลอดมลพิษ ใน ' "ทามะ' นิวทาวน์ญี่ปุ่น ต้นแบบเมืองใหม่นครนายก,' มติชนรายวัน, 21 พ.ย. 2546, หน้า 14, http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01p010521146.

                หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายสัปดาห์สรุปว่า เมืองต้นแบบอีกแห่งหนึ่งคือ เมืองปูตราจายา มาเลเซีย โปรดดู  'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[4] "เลือก 1.5 แสนไร่ 'นครนายก' ตั้งเมืองใหม่ เป็นที่อยู่อาศัย-ไร้มลพิษ," มติชนรายวัน, 20 พ.ย. 2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01p0101201146.

[5] คำกล่าวของ พ...ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในรายการ "นายกฯ ทักษิณคุยกับประชาชน" ทางคลื่น F.M.92.5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เวลา 08.00. วันเสาร์ที่ 22 พ.ย. 2546.

[6] 'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[7] 'เมืองใหม่ "นครนายก" ขุมทรัพย์แห่งอนาคต,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 38, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[8] 'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่ "นครนายก," ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[9] 'เมืองใหม่ "นครนายก" ขุมทรัพย์แห่งอนาคต,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 38, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[10]  'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่"นครนายก," ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[11] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[12] 'เมืองใหม่ "นครนายก" ขุมทรัพย์แห่งอนาคต,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 38, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[13] 'ตีเส้นเวนคืนเมืองใหม่ 3 อำเภอ 8 ตำบล แฉ'ซีพี-ช้าง'ลุยกว้านซื้อที่นับหมื่นไร่,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468011.htm.

[14] 'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[15] 'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[16] 'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[17] 'อานิสงส์เมืองใหม่นครนายก แห่ผุดบ้านบนทำเลทอง"รังสิต-พหลโยธิน" "แลนด์ฯ-แสนสิริ" ลงสนามบี้"พฤกษา-วังทอง", ' มติชนรายวัน, 18 ธ.ค. 2546, หน้า 35, http://www.matichon.co.th/ matichon/matichon. php?s_tag=01pra09181246.

[18] 'ตีเส้นเวนคืนเมืองใหม่ 3 อำเภอ 8 ตำบล แฉ'ซีพี-ช้าง'ลุยกว้านซื้อที่นับหมื่นไร่,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468011.htm.

[19] 'ตีเส้นเวนคืนเมืองใหม่ 3 อำเภอ 8 ตำบล แฉ'ซีพี-ช้าง'ลุยกว้านซื้อที่นับหมื่นไร่,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468011.htm.

[20] 'ผ่าอาณาจักร 'เมืองใหม่นครนายก' ผุดศูนย์กลางการเงิน - ICT ดับเครื่องชนสิงคโปร์,' ผู้จัดการรายสัปดาห์, 30 พ.ย. 2546, http://www.manager.co.th/weekly/viewNews.asp?newsid=2000000042779.

[21]'นครนายกถกรับเมืองใหม่ ธุรกิจที่ดิน-รีสอร์ตรอรับส้ม' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3535 (2735), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 4, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0107271146.

[22] "นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณาโครงการสร้างเส้นทางแหลมผักเบี้ย,"  สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ประจำวันอังคารที่ 25 พ.ย. 2546, http://www.thaisnews.com/news_detail.php?newsid=77513.

[23] 'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่"นครนายก", 'ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146, 'เมืองใหม่นครนายกสมบูรณ์แบบ มีรถไฟรางคู่เชื่อมหนองงูเห่า,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3539 (2739), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 20, 'เมืองใหม่นครนายก คอลัมน์ จดหมายถึง บก,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 6, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0103011246.

[24] 'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[25] "นครนายก"สัมมนาผังเมืองรวม คนแห่ร่วมนึกว่าเรื่อง"เมืองใหม่" มติชนรายวัน, 27 พ.ย. พ.. 2546, หน้า 22, ttp://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01pro13271146.

[26]  'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[27] คอลัมน์ นานาทรรศนะ นครนายก รับอานิสงส์เป็นเมืองรอบนอก"เมืองใหม่," สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr46801.htm.

[28]   'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[29]  'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[30] 'พิมพ์เขียว'ผี'ว่อน ขายใบละ20บาท,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468012.htm.

[31] 'ชาวนครนายกเห่อเมืองใหม่ ฝันไกลดึงนักท่องเที่ยวเพิ่ม,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3539 (2739), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 20  และ 'เมืองใหม่นครนายก คอลัมน์ จดหมายถึง บก,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 2, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0103011246.

[32]  'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[33] 'ชาวนครนายกเห่อเมืองใหม่ ฝันไกลดึงนักท่องเที่ยวเพิ่ม,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3539 (2739), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 20  และ 'เมืองใหม่นครนายก คอลัมน์ จดหมายถึง บก,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 21, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0103011246, และตีเส้นเวนคืนเมืองใหม่ 3 อำเภอ 8 ตำบล แฉ'ซีพี-ช้าง'ลุยกว้านซื้อที่นับหมื่นไร่,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468011.htm.

[34] 'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่"นครนายก," ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[35] 'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่"นครนายก," ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[36] ชมพูนุท นำภา, 'นครนายก นิว ทาวน์ เมืองใหม่"เศรษฐี" คนจน"ไม่มีสิทธิ",'  มติชนรายวัน, 25 พ.ย. 2546, หน้า 17, http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01pra01251146.

[37] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[38]  'เร่งวางผัง"นครนายก"รับเมืองใหม่ ออกกฎคุมเข้มพัฒนาทะเลทอง,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3536 (2736), 1 ธ.ค. 2546, หน้า 41, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02rea01011246.

[39] 'ทุ่ม1.6 แสนล้านชุบเมืองใหม่"นครนายก," ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 1, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[40] 'เมืองใหม่ "นครนายก" ขุมทรัพย์แห่งอนาคต,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 38, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[41] 'เมืองใหม่ "นครนายก" ขุมทรัพย์แห่งอนาคต,' ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3534 (2734), 24 พ.ย.2546, หน้า 38, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0104241146.

[42] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[43] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[44] ตีเส้นเวนคืนเมืองใหม่ 3 อำเภอ 8 ตำบล แฉ'ซีพี-ช้าง'ลุยกว้านซื้อที่นับหมื่นไร่,' สยามธุรกิจ, ปีที่ 9 ฉบับที่ 468, 30 พ.ย. – 6 ธ.ค. 2546, หน้า 1, http://www.siamturakij.com/468/tr468011.htm.

[45] ชมพูนุท นำภา, 'นครนายก นิว ทาวน์ เมืองใหม่"เศรษฐี" คนจน"ไม่มีสิทธิ",'  มติชนรายวัน, 25 พ.ย. 2546, หน้า 17, http://www.matichon.co.th/matichon/matichon.php?s_tag=01pra01251146.

[46] "บทนำ : นครนายกเมืองใหม่," มติชนรายวัน, 22 พ.ย. 2546, หน้า 2, ttp://www.matichon.co.th/ matichon/ matichon.php?s_tag=01edi01221146.

[47] 'เมืองใหม่นครนายก คอลัมน์ จดหมายถึง บก,' ปีที่ 27 ฉบับที่ 3540 (2740), 15 ธ.ค. 2546, หน้า 6, http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat.php?selectid=02p0103011246.

[48] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[49] 'เมืองใหม่นครนายกเดือด!' ฐานเศรษฐกิจ, ปีที่ 23 ฉบับที่ 1861, 14-17 ธ.ค. 2546, http://www.thannews.th.com.

[50] ฉลามเขียว, ' ชายคาหน้า 6,' ไทยรัฐ,  25 พ.ย.  2546, หน้า 6, และ 26 พ.ย.  2546, หน้า 6.