banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น - นครนายก
พ.ต. ศรศักร ชูสวัสดิ์ รวบรวม
e-mail address: shusawat@yahoo.com

การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นนครนายก มีข้อมูลที่สามารถรวบรวมได้ ดังนี้

2397- มีการพิมพ์บันทึกภาษาฝรั่งเศสของสังฆนายกปาเลกัวซ์ ( Mgr. Pallegoix) Description du Royaume Thai ou Siam ที่กรุงปารีส หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงนครนายกไว้ด้วย (สันต์ ท. โกมลบุตร แปลเป็นไทยและให้ชื่อเรื่องว่า "เล่าเรื่องกรุงสยาม")

2454- August Pavie, Mission Pavie Indo-Chine 1879-1895 (Paris: Ernest Leroux, Editeur, 1901) กล่าวถึงการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดนครนายก

2476- รองอำมาตย์ ก้าน สภานนท์ ครูใหญ่ โรงเรียนนครส่ำสงเคราะห์ (นครนายกวิทยาคม) โรงเรียนประจำจังหวัดนครนายก ได้เรียบเรียงประวัติเมืองนครนายก และได้สรุปจากคำบอกเล่าว่า ชื่อเมืองนครนายกมาจากการไม่เก็บค่านา (ยกค่านา) จากราษฎรของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ในอดีต

2478- กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนดงละคร ต. ดงละคร เป็นโบราณสถาน

2500- สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดพิมพ์หนังสือ นครนายก, รวบรวมโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรมการจังหวัดนครนายก เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500

2515- 4คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักศึกษาได้ดำเนินขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร นายดุสิต บุญธรรม ชาวนครนายก ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองคณะปฏิวัติ (รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร) เป็นผู้จัดหางบประมาณให้ นายพิสิฐ เจริญวงศ์ อาจารย์คณะโบราณคดี (ขณะนั้น) เป็นผู้อำนวยการขุดค้น

2516-18- นางปรานี วงษ์เทศ อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้าไปศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่บ้านหนองหัวลิง และหนองแสง อ. ปากพลี และได้ศึกษาเพลงกล่อมเด็กของลาวพวน

2517- กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดค้นโบราณสถานดงละคร
- มีการศึกษาเรื่อง "การสังสรรค์วัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมในหมู่บ้านช่องตะเคียน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก" โดยประสิทธิ์ ตาตินิจ

2523- กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก ที่โรงเรียนนครนายกวิทยาคม

2524- 11 - 13 สิงหาคม, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกจัดนิทรรศการ "เอกลักษณ์ไทย" พร้อมจัดพิมพ์หนังสือ "เอกลักษณ์ไทย"

2525- ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกจัดพิมพ์ "การละเล่นของเด็กจังหวัดนครนายก."

2528- โรงพยาบาลอำเภอบ้านนาจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกเปิดโรงพยายาล 1 กุมภาพันธ์ มีประวัติอำเภอบ้านนา และประวัติตำบลบ้านนา

2529- ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกเผยแพร่ "ข้อมูลทางวัฒนธรรม จังหวัดนครนายก" เรียบเรียงโดย ปริศนา สำราญกิจ (อัดสำเนา - เย็บเล่ม)
- โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคกลาง) ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร มีนายสุรพล นาถะพินธุ เป็นผู้อำนวยการขุดค้น

2532-33- ตุลาคม 2532 - กุมภาพันธ์ 2533, กองโบราณคดี กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อประกาศเขตโบราณสถาน และเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการ นายนิคม มูสิกะคามะ ผู้อำนวยการกองโบราณคดี เป็นผู้อำนวยการ นายพิสิฐ เจริญวงศ์ เป็นผู้อำนวยการขุดค้นทางวิชาการ

2532- 1 สิงหาคม, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตร "โรงช้าง" หรือ "คอกช้าง" ณ หมู่ที่ 5 ต. ป่าขะ อ.บ้านนา จ. นครนายก และทรงพระราชทานแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองนครนายก นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา ประวัติศาสตร์นครนายกอย่างเป็นระบบ
- 15 สิงหาคม, จังหวัดนครนายกแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาประวัติศาสตร์เมืองนครนายก
- กองโบราณคดี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ "รายงานผลการปฏิบัติงานที่แหล่งโบราณคดีดงละคร บ้านดงละคร ต.ดงละคร อ.เมือง จ. นครนายก ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2532." โดยอาณัติ บำรุงวงศ์ และคณะ
- กองโบราณคดี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ "รายงานเบื้องต้นเรื่อง แหล่งโบราณคดีดงละคร" โดยอมรา ศรีสุชาติ

2533- 29 มกราคม, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีดงละคร
- 13 กุมภาพันธ์, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทอดพระเนตรสถานที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่น ในสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณพื้นที่รอบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 17 กุมภาพันธ์, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสนอบทความเรื่อง "นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ 2 " ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" จัดโดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 17 กุมภาพันธ์, นิคม มูสิกะคามะ เสนอบทความเรื่อง "เมืองดงละคร: งานโบราณคดี" ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" จัดโดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 18 กุมภาพันธ์, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ นำผู้ร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" ทัศนศึกษาโบราณสถานในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายก
- กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์ สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายก เอกสาร กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7
- จังหวัดนครนายกจัดพิมพ์ "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก" (อัดสำเนา-เย็บเล่ม)

2534-37- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก" ในความรับผิดชอบของกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา

2534- จารุวรรณ สุขปิติ. "การศึกษาลักษณะของภาษาลาวพวนที่ตำบลหัวหว้า อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี." วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย -มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.

2535-39- การดำเนินโครงการศึกษาวิจัยโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เมืองนครนายก

2535- 7-9 กันยายน, จังหวัดนครนายกจัด การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การศึกษาวิจัยทางประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและสังคมเมืองนครนายก" ณ โรงแรมกอบเกื้อพาเลซ อ.เมือง นครนายก

2536- กรมศิลปากรขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร

2537- 6 กันยายน, กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก" ที่กองวิชาประวัติศาสตร์ ฯ

2538- คณาจารย์ภาควิชาภูมิศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเผยแพร่เอกสาร "ข้อมูลเมืองนครนายก." ผู้ช่วยศาสตราจารย์น้อม งามนิสัย หัวหน้าภาควิชาฯ ซึ่ง เป็นชาวปากพลี จ.นครนายก เป็นบรรณาธิการ เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์จังหวัดนครนายก และได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการศึกษา ประวัติศาสตร์นครนายก โดยเฉพาะการค้นพบเครื่องมือหินที่อ.ปากพลีไว้ด้วย
- มุทิตา ณรงค์ชัย. "บทบาททางเศรษฐกิจของเมืองโบราณดงละคร ในฐานะกลุ่มเมืองท่าชายฝั่งทะเลภูมิภาคตะวันออก." วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538

2539- 4-6 กุมภาพันธ์, กรมศิลปากรจัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นครนายก
- กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและสำนักพิมพ์เมืองโบราณ จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก

2542- จังหวัดนครนายกจัดพิมพ์ "วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครนายก." (อัดสำเนา - เย็บเล่ม)

2543- 11 กุมภาพันธ์, โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดสัมมนาทางวิชาการ ครั้งที่ 2 ณ อาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ฯ, มีการบรรยายเรื่อง "นครนายก: ชุมชนเกษตรกรรมและเมืองนครนายก" โดย ร.อ. ศรศักร ชูสวัสดิ์
- 12 กุมภาพันธ์, ผู้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ โครงการจัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ทัศนศึกษาสถานที่สำคัญในจังหวัดนครนายก เช่น วัดอัมพวัน แหล่งโบราณคดีดงละคร วัดใหญ่ทักขิณาราม วัดอุดมธานี วัดโพธิ์ปากพลี และวัดคลองท่าแดง
- 19 ตุลาคม, นักเรียนนายร้อย รร.จปร. วิชาประวัติศาสตร์ไทย จำนวน 16 นาย ทัศนศึกษาพื้นที่นครนายก เช่น เขื่อนนครนายก แหล่งโบราณคดีดงละคร วัดใหญ่ทักขิณาราม วัดอุดมธานี ตลาดสดและตลาดโต้รุ่ง
- 26 ตุลาคม, นักเรียนนายร้อย รร.จปร. วิชาประวัติศาสตร์ไทย จำนวน 16 นาย ทัศนศึกษาพื้นที่รอบ รร.จปร. โดยจักรยาน สำรวจเส้นทางและที่ตั้งค่ายญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำตกตาดหินกอง วัดกุดตะเคียน และอ่างเก็บน้ำคลองโบด
- 16 พฤศจิกายน, วิชาประวัติศาสตร์ไทย รร.จปร. มีการบรรยายหัวข้อเรื่อง "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก: กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่น" โดย พ.ต.หญิง ปิยนุช รัตนวิชัย และมีการสัมมนาในห้องเรียน เรื่อง "นครนายกจากมุมมองของนักเรียนนายทหารรุ่นใหม่"
- วิมล ไทรนิ่มนวล. บรรณาธิการ. นครนายก. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2543.

2545- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุในคณะกรรมการอำนวยการ จัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 จัดพิมพ์หนังสือเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดนครนายก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2545.

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

-