banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก - ข่าวหนังสือพิมพ์ 13 ม.ค. 2547
nayok_news_date
พ.ศ. 2544, 2545, 2546, 2547

 มติชน, วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9440, หน้า 18  

   ชงครม.เห็นชอบแนวเวนคืน เมืองใหม่ 11 ตำบล 3 อำเภอ
โดย น.รินี เรืองหนู เพ็ญทิพย์ อักษรเนียม

โครงการเมืองใหม่ อีก 1 นโยบายในฝันรัฐบาล ที่กำลังอยู่ในกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมขณะนี้ มีแนวโน้มจะเกิดเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากในวันที่ 13 มกราคมนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการเมืองใหม่ จะเสนอเรื่องการประกาศเขตแนวสำรวจพื้นที่เมืองใหม่(นครนายก) เพื่อทำการสำรวจรายละเอียดของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเมื่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติแล้ว จากนี้ไปจะประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กำหนดแนวที่ดินเพื่อทำการสำรวจต่อไป

เบื้องต้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ในเขต 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บ้านนา จ.นครนายก

อ.วิหารแดง และ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยจะใช้เวลาสำรวจประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจะจัดทำแผนที่เพื่อกำหนดแนวเวนคืนและจัดทำผังเมืองต่อไป คาดว่าจะสามารถก่อสร้างเมืองใหม่ได้ภายในปี 2548 สำหรับแนวพื้นที่เวนคืนในเบื้องต้นที่คาดว่าจะนำเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบ ได้แก่

1.อ.บ้านนา ประกอบด้วย ต.บ้านนา ต.ป่าขะ ต.บ้านพร้าว ต.ศรีกะอาง ต.เขาเพิ่ม ต.บ้านพริก(บางส่วน)

2.อ.วิหารแดง ประกอบด้วย ต.วิหารแดง(บางส่วน) ต.บ้านลำ(บางส่วน) ต.คลองเรือ(บางส่วน)

3.อ.แก่งคอย ประกอบด้วย ต.ชะอม(บางส่วน) ต.ท่ามะปราง(บางส่วน)

แนวสำรวจเพื่อเวนคืนเริ่มตั้งแต่แยกโรงเรียนนายร้อย จปร.สุดเขตอำเภอเมืองนครนายก ไปตามแนวถนนหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) พื้นที่นี้ภาครัฐได้เวนคืนพื้นที่ไปแล้วประมาณ 50,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อย จปร. และทั้งสองโรงเรียนได้ใช้พื้นที่ไปแล้วกว่า 20,000 ไร่ ดังนั้น จึงเหลือพื้นที่รัฐที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกประมาณ 30,000 ไร่ เส้นทางนี้จะมุ่งหน้าไปยัง จ.สระบุรี โดยพื้นที่มุ่งหน้าไปยัง จ.สระบุรี นอกจากนี้ยังครอบคลุมเข้าไปยังพื้นที่ชั้นในของทั้ง 2 ฝั่งถนน ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่ประปราย พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นไร่นา ป่าเขาที่มียอดเขาสูงไม่เกิน 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(รทก.)

ปัจจุบันตลอดแนวถนนหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) มีสภาพเป็นชุมชน ถนนเส้นนี้สามารถไปยังหินกอง จ.สระบุรี ได้ในระยะทางเพียง 25 กิโลเมตร แต่หากเลี้ยวขวาไปยังแก่งคอย-วิหารแดง มีระยะทางเพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไปตามถนนสาย 33 ดังกล่าวขึ้นไปทางเหนือ ทางด้านขวามือของถนนทั้งหมด จะเป็นแนวเวนคืนไปจนสุดเขตอำเภอบ้านนา และต่อเนื่องไปยัง อ.วิหารแดง อ.แก่งคอย ขณะที่ทางด้านซ้ายของเส้นทางหมายเลข 33 ตลอดระยะทางความลึก 1-2 กิโลเมตรนั้น ก็จะเป็นแนวเวนคืนอีกบางส่วน เนื่องจากเป็นการขยายไว้เผื่อเป็นเส้นทางคมนาคมต่อไปในอนาคต

นายสว่าง ศรีสกุล อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง กล่าวว่า ได้เสนอให้ ครม.ประกาศเป็นขอบเขตการสำรวจทั้งหมด 250,000 ไร่ แบ่งเป็นเขตตัวเมืองโดยเฉพาะ 60,000 ไร่ ยังไม่นับรวมที่ดินส่วนที่กรมโยธาฯกำหนดให้เป็นเขตเวนคืนอีก 200,000 ไร่เป็นขั้นต่อไป ครอบคลุมพื้นที่ อ.บ้านนา แก่งคอย วิหารแดง จะมีรายละเอียดสถานที่ตั้งต่างๆที่จะทำเมืองใหม่ว่ามีฮวงจุ้ย ภูเขา แม่น้ำ ที่ดิน ส.ป.ก.4-01 ที่ดินกรมธนารักษ์ เป็นต้น

นายสว่าง กล่าวอีกว่า หลังจากนี้นายกรัฐมนตรีจะตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบการก่อสร้างเมืองฝ่ายต่างๆ มีประมาณ 10 คณะ อาทิ ฝ่ายการสร้างเมือง ,ฝ่ายสิ่งแวดล้อมเพื่อตรวจสอบว่ามีน้ำเสีย น้ำดีมากน้อยแค่ไหนในพื้นที่ และมีความเสี่ยงน้ำท่วมมากน้อยแค่ไหน ,ฝ่ายความมั่นคง ,ฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เป็นต้น เมื่อเวนคืนเสร็จแล้วจะวางผังเมืองถนน ส่วนราชการ มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ โรงแรม บ้านเรือนอาศัย ฯลฯ ตามด้วยการก่อสร้างถนน อาคาร วางระบบสาธารณูปโภคเป็นขั้นต่อไป

[Top]

 มติชน, วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9440, หน้า 1  

 ครม.อนุมัติวันนี้แนวเวนคืน เมืองใหม่11ตำบล3อำเภอ 
ชง ครม.เห็นชอบวันนี้ ประกาศเขตแนวสำรวจพื้นที่เวนคืนโครงการ"เมืองใหม่นครนายก" เบื้องต้นกำหนด 3 อำเภอ 11 ตำบล แยกเป็น อ.บ้านนา 6 ตำบล อ.วิหารแดง 3 อ.แก่งคอย 2 เผยชื่อทุกตำบลในแนวสำรวจ 3 เดือนก่อนเริ่มเวนคืน 2 แสนไร่

โครงการเมืองใหม่ อีก 1 นโยบายในฝันรัฐบาล ที่กำลังอยู่ในกระแสวิพากษ์วิจารณ์ของสังคมขณะนี้ มีแนวโน้มจะเกิดเป็นรูปธรรมชัดเจนยิ่งขึ้น เนื่องจากในวันที่ 13 มกราคมนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการเมืองใหม่ จะเสนอเรื่องการประกาศเขตแนวสำรวจพื้นที่เมืองใหม่(นครนายก) เพื่อทำการสำรวจรายละเอียดของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งเมื่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติแล้ว จากนี้ไปจะประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กำหนดแนวที่ดินเพื่อทำการสำรวจต่อไป

เบื้องต้น พ.ร.ฎ.ดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ในเขต 3 อำเภอ ประกอบด้วย อ.บ้านนา จ.นครนายก

อ.วิหารแดง และ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี โดยจะใช้เวลาสำรวจประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจะจัดทำแผนที่เพื่อกำหนดแนวเวนคืนและจัดทำผังเมืองต่อไป คาดว่าจะสามารถก่อสร้างเมืองใหม่ได้ภายในปี 2548 สำหรับแนวพื้นที่เวนคืนในเบื้องต้นที่คาดว่าจะนำเสนอ ครม.พิจารณาเห็นชอบ ได้แก่

1.อ.บ้านนา ประกอบด้วย ต.บ้านนา ต.ป่าขะ ต.บ้านพร้าว ต.ศรีกะอาง ต.เขาเพิ่ม ต.บ้านพริก(บางส่วน)

2.อ.วิหารแดง ประกอบด้วย ต.วิหารแดง(บางส่วน) ต.บ้านลำ(บางส่วน) ต.คลองเรือ(บางส่วน)

3.อ.แก่งคอย ประกอบด้วย ต.ชะอม(บางส่วน) ต.ท่ามะปราง(บางส่วน)

แนวสำรวจเพื่อเวนคืนเริ่มตั้งแต่แยกโรงเรียนนายร้อย จปร.สุดเขตอำเภอเมืองนครนายก ไปตามแนวถนนหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) พื้นที่นี้ภาครัฐได้เวนคืนพื้นที่ไปแล้วประมาณ 50,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงเรียนเตรียมทหาร และโรงเรียนนายร้อย จปร. และทั้งสองโรงเรียนได้ใช้พื้นที่ไปแล้วกว่า 20,000 ไร่ ดังนั้น จึงเหลือพื้นที่รัฐที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกประมาณ 30,000 ไร่ เส้นทางนี้จะมุ่งหน้าไปยัง จ.สระบุรี โดยพื้นที่มุ่งหน้าไปยัง จ.สระบุรี นอกจากนี้ยังครอบคลุมเข้าไปยังพื้นที่ชั้นในของทั้ง 2 ฝั่งถนน ซึ่งมีบ้านเรือนตั้งอยู่ประปราย พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นไร่นา ป่าเขาที่มียอดเขาสูงไม่เกิน 400 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง(รทก.)

ปัจจุบันตลอดแนวถนนหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) มีสภาพเป็นชุมชน ถนนเส้นนี้สามารถไปยังหินกอง จ.สระบุรี ได้ในระยะทางเพียง 25 กิโลเมตร แต่หากเลี้ยวขวาไปยังแก่งคอย-วิหารแดง มีระยะทางเพียง 12 กิโลเมตรเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อไปตามถนนสาย 33 ดังกล่าวขึ้นไปทางเหนือ ทางด้านขวามือของถนนทั้งหมด จะเป็นแนวเวนคืนไปจนสุดเขตอำเภอบ้านนา และต่อเนื่องไปยัง อ.วิหารแดง อ.แก่งคอย ขณะที่ทางด้านซ้ายของเส้นทางหมายเลข 33 ตลอดระยะทางความลึก 1-2 กิโลเมตรนั้น ก็จะเป็นแนวเวนคืนอีกบางส่วน เนื่องจากเป็นการขยายไว้เผื่อเป็นเส้นทางคมนาคมต่อไปในอนาคต

นายเดช บุญ-หลง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อดีต ส.ส.นครนายกหลายสมัย เปิดเผยว่า โครงการเมืองใหม่นี้เป็นโครงการในสมัยรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และทราบข้อมูลเรื่องนี้ดี เพราะขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ จากการติดตามโครงการของรัฐบาลนี้ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในส่วนของเส้นทางคมนาคมเท่านั้น

[Top]

 มติชน, วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 ปีที่ 27 ฉบับที่ 9440, หน้า 9  

 ตะลึง!"ธนินท์-เจริญ"แลนด์ลอร์ดเมืองใหม่ 
กว้านซื้อไว้สมัย"น้าชาติ"-มีนับหมื่นไร่ "ปูนใหญ่-อิตาเลียน"เอี่ยวเข้าขบวนด้วย

สำรวจพบแลนด์ลอร์ดตัวจริงเมืองใหม่ "นครนายก" มีทั้งกลุ่มซีพีของ"ธนินท์" และ"เจริญ สิริวัฒนภักดี" กว้านซื้อไว้ตั้งแต่สมัย"น้าชาติ" ตามมาติดๆ คือกลุ่ม "ปูนใหญ่-อิตาเลียน" ชี้ยังรับทรัพย์แม้โดนเวนคืน เพราะซื้อถูก แถมราคาประเมินเพิ่งปรับ 16%

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดนครนายก เปิดเผยว่า จากกรณีที่รัฐบาลมีนโยบายจะจัดตั้งเมืองใหม่ที่จังหวัดนครนายกนั้น จากการสำรวจการเป็นเจ้าของที่ดินในตำบลบ้านพริกอำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ซึ่งติดต่อกับอำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรีนั้น พบว่าเจ้าของที่ดินรายใหญ่นั้นเป็นเอกชน 2 รายคือ กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์(ซีพี) ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ และกลุ่มบริษัทแสงโสม ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยส่วนใหญ่มีการซื้อไว้ตั้งแต่ครั้งที่ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ที่ดินบางส่วนก็เป็นของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ด้วย

"ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ ซึ่งมีการทยอยซื้อกันเรื่อยมาและมาหยุดในช่วงปี 2538 โดยพบว่ามีนับหมื่นๆ ไร่ เนื่องจากเป็นทางเชื่อมติดต่อได้ทั้งวิหารแดง แก่งคอยและหินกอง ซึ่งปัจจุบันมีการปล่อยให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เช่าเพื่อเพาะปลูกและเลี้ยงไก่"

แหล่งข่าวกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ราคาที่ดินในช่วงที่ผ่านมาพบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก โดยที่ดินที่อยู่นอกเขตเมืองแต่อยู่ติดถนนหลักนั้นมีราคาประมาณ 1.6 ล้านบาทต่อไร่ ขณะที่ที่ดินด้านในเข้าไปราคาขายประมาณ 60,000 บาทต่อไร่ ส่วนที่ดินที่ตัวอำเภอบ้านนาราคาอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาทต่อไร่ ขณะที่ที่ดินรอบนอกอำเภอบ้านนามีราคาประเมินที่ 1.2 ล้านบาทต่อไร่ แต่มีการซื้อขายจริงเพียงไร่ละ 600,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันยังไม่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม หากที่ดินเหล่านี้ติดพื้นที่ที่รัฐจะต้องเวนคืนไปทำเมืองใหม่ เจ้าของที่ดินก็จะได้รับการชดเชยให้โดยได้ตามราคาประเมินราคาที่ดิน ณ ปัจจุบัน ซึ่งพบว่าราคาประเมินที่ดินใหม่ที่กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2547 (ซึ่งการทำราคาประเมินเป็นการเก็บข้อมูลก่อนที่จะมีนโยบายเมืองใหม่ออกมา) นั้นราคาเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2543-2546 ประมาณ 16.72% ซึ่งเท่ากับว่าเจ้าของที่เดิมจะได้รับการชดเชยราคาค่อนข้างสูง เพราะเป็นที่ดินต้นทุนต่ำ เนื่องจากซื้อไว้นานแล้ว และหากมีการทำประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวก็ย่อมไดรับการชดเชยในส่วนของผลประโยชน์ที่จะเก็บเกี่ยวได้

[Top]

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า