banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก - ข่าวหนังสือพิมพ์ 12 ธ.ค. 2546
nayok_news_date
พ.ศ. 2544, 2545, 2546, 2547

 ผู้จัดการรายสัปดาห์, Friday, December 12, 2003  

   168 ช.ม. - รัฐบาลเตรียมผลักดัน "ไฟฟ้า" เอื้ออาทร"
โดยMGR ONLINE

ดีเดย์ 1 ม.ค. ตั้งผู้ว่าฯคนนอก

ถือเป็นรัฐบาลชุดแรกที่เข้ามา ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของราชการไทยมากที่สุดด้วยคำว่า "ปฏิรูป" จนทำให้บรรดาข้าราชการปรับตัวตามไม่ทัน ล่าสุด ครม.เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยพนักงานราชการของส่วนราชการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เสนอมา โดยให้ส่วนราชการ ที่ต้องการรับข้าราชการเพิ่มแต่ไม่มีอัตราให้รับข้าราชการในรูปแบบใหม่ที่มาแทนลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวในลักษณะที่เรียกว่า "พนักงานราชการ" ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการ โดยแบ่งออกตามลักษณะและผลผลิตเป็น 5 กลุ่มงาน ด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มงานบริการ กลุ่มงานเทคนิค กลุ่มงานบริหารทั่วไป กลุ่มงานเฉพาะด้าน และกลุ่มงานเชี่ยวชาญพิเศษ โดยสัญญาจ้าง และออกในอายุสัญญาไม่เกิน 4 ปี

แนวทางดังกล่าว เป็นการเปิดทางให้กับบุคคลภายนอกมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และเอกอัครราชทูตอย่างชัดเจน งานนี้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศโดนเต็มๆ เนื่องจากได้มีการวางจังหวัดเป้าหมายไว้แล้ว คือ ภูเก็ต ซึ่งเป็นจังหวัดท่องเที่ยว นครนายก ในฐานะที่จะพัฒนาเป็น เมืองใหม่ หนองบัวลำภู และแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดคู่ขนานเปรียบเทียบในการพัฒนาชุมชน เป็น 4 จังหวัดนำร่อง ส่วนเอก- อัครราชทูต อัครราชทูต และกงสุลใหญ่ก็จะเริ่มในช่วงเวลาเดียว กัน ใน 7 ประเทศนำร่องคือ จีน บราซิล เบลเยียมที่เป็นด่านสินค้าสำคัญของสหภาพยุโรป แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิ-เรตส์ และญี่ปุ่น โดยมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2547

โดยผู้นำที่นิยมการ "คิดใหม่ ทำใหม่" ที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชิน-วัตร นายกรัฐมนตรี ระบุถึงเหตุผล การเปิดไฟเขียวให้คนนอกเข้ามารับใช้ชาติครั้งนี้เพื่อเป็นการลงแส้บรรดาข้าราชการที่ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ให้สปีดตัวเองมากยิ่งขึ้น มิฉะนั้นโอกาสที่จะมีคนนอกเข้า มาสูงถ้ายังไม่สามารถพัฒนาตัวเอง ให้มีประสิทธิภาพ

ก.เกษตรจับมือพลังงานผลิตไฟฟ้าเอื้ออาทร

กลายเป็นรัฐมนตรีที่สร้างผลงานออกมาฮือฮาได้ตลอด ล่าสุด สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.เกษตรฯ คนใหม่ก็โชว์ฝีมือด้วยการจับมือกระทรวงพลังงานจัดทำโครงการไฟฟ้าเอื้ออาทร โดยตั้งคณะทำงาน ขึ้นมาศึกษาการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนขนาดเล็กของกรมชล ประทานที่มีอยู่ 594 แห่ง ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 154 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 600 ล้านหน่วยต่อวัน เพื่อขายให้เกษตรกรใช้เพื่อการเกษตรหรือให้กับเกษตรกรที่ยังไม่มีไฟฟ้า ใช้ในราคาถูกไม่เกิน 2 บาทต่อหน่วย จากปกติที่ขายอยู่ 2.60 บาทต่อหน่วย โดยใช้เงินลงทุนในการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งมีการคาดการว่า จะมีรายได้จากการลงทุนประมาณ 1,200 ล้านบาทต่อปี หรือคุ้มทุนภาย ใน 4-5ปี ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอน การพิจารณาว่าจะให้การไฟฟ้าฝ่าย ผลิต (กฟผ.)หรือเอกชน เป็นผู้ลงทุน ซึ่งจะสรุปแนวทางทั้งหมดภายใน 1 เดือนนับจากนี้ ส่วนการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งทั้งสอง กระทรวงได้เร่งให้ติดตั้งให้ได้ภาย ในปี 2547 นี้ และเห็นผลชัดเจนในปี 2548

[Top]

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า