banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก - ข่าวหนังสือพิมพ์ 11 ธ.ค. 2546
nayok_news_date
พ.ศ. 2544, 2545, 2546, 2547

 ประชาชาติธุรกิจ, ปีที่ 27 ฉบับที่ 3539 (2739) วันที่ 11 ธันวาคม 2546, หน้า 20  

 เมืองใหม่นครนายกสมบูรณ์แบบ มีรถไฟรางคู่เชื่อมหนองงูเห่า 
"คำรบลักขิ์ สุรัสวดี" เผยคอนเซ็ปต์การตั้งเมืองใหม่ที่บ้านนา นครนายก ใช้หลักบริหารความต้องการ "ดีมานด์แมเนจเมนต์" สร้างเมืองให้สมบูรณ์แบบ เผยจะใช้งบฯปกติในการสร้างสาธารณูป โภค ส่วนโครงข่ายคมนาคมผุดมอเตอร์ เวย์จากเมืองใหม่เชื่อมทางด่วนรามอินทรา-อาจณรงค์ที่วงแหวนตะวันออก ขยายถนนรังสิต-นครนายก พร้อมทางรถไฟรางคู่เชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิ

ดร.คำรบลักขิ์ สุรัสวดี ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแผนการสร้างเมืองใหม่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากการมีมิติใหม่ในการแก้ไขปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่ เพราะที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาจราจรแก้ไปได้ไม่นานก็เกิดปัญหาอีก ฉะนั้น จึงต้องไปจัดการที่ตัวดีมานด์ ซึ่งดีมานด์คือการเจริญเติบโตของประชากร แทนที่จะให้มากระจุกตัวกันในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ก็จัดการเอาความเจริญเติบโตไปอยู่ในที่เหมาะสม เช่น พระนคร ศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา และการเติบโตจะไปผูกพันกับลักษณะของสังคมของเราที่สังคมๆ หนึ่งค่าเฉลี่ยมี 4 คน 2 คนเป็นคนทำงาน อีก 2 คนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เช่นเด็กเล็กหรือคนแก่

"พวกนี้ไม่ต้องการเข้าสู่ศูนย์รวมหรือที่เรียกว่าแหล่งงาน แต่ต้องการที่จะอยู่ในพื้นที่ใกล้โรงเรียน ในการพัฒนาเมืองต้องทำเมืองให้มีลักษณะเป็น self contain คือสามารถมีชีวิตอยู่ได้ไม่เหมือนกับโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ดกว่าจะมาถึงอีสเทิร์นซีบอร์ดก็วันจันทร์ตอนสายๆ เพราะนอนกรุงเทพฯวันศุกร์ยังไม่ทันเย็นก็ต้องกลับกรุงเทพฯเพราะพ่อตาแม่ยายอยู่กรุงเทพฯ เรื่องอะไรจะต้องทำงานที่นี่ ฉะนั้น ในการทำเมืองใหม่ถึงเน้นประเด็นนี้"

ทางด้านงบประมาณที่จะนำมาก่อสร้างเมืองใหม่นั้น ดร.คำรบลักขิ์กล่าวว่า จะใช้งบฯปกติของหน่วยงานราชการที่ใช้ในโครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ไฟฟ้า และอื่นๆ อีกสารพัด และแทนที่จะให้เมืองไปเกิดที่ปทุมธานีการแก้ตามหลังจะแก้ยาก ก็จัดการเอาดีมานด์มาไว้ตรงนี้แทน ต่อไปมิติใหม่เรื่องของดีมานด์แมเนจเมนต์รัฐบาลต้องบอกเลยว่าอยู่ตรงนี้ ให้ประชาชนมาเลยไม่ต้องปิดบัง เชื้อเชิญให้มาเลย

สำหรับโครงข่ายการจราจรที่จะเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯกับเมืองใหม่ จะมีมอเตอร์เวย์สายราม อินทราบริเวณปลายทางด่วนรามอินทรา-อาจ ณรงค์-วงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก (บางพลี-บาง ปะอิน) เชื่อมกับเมืองใหม่ ระยะต่อไปจะก่อสร้างจากเมืองใหม่ไปเชื่อมแก่งคอย จังหวัดสระบุรี-นครราชสีมา ทางรถไฟรางคู่จะมีการก่อสร้างจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังเมืองใหม่ และอีกด้านหนึ่งจะมีถนนไฮเวย์เมืองใหม่เชื่อมกับถนนรังสิต-สระบุรีที่บริเวณหินกอง นอกจากนี้ จะมีการขยายถนนสายรังสิต-นครนายกให้กว้างกว่าเดิมจากปัจจุบันที่มี 6 เลนในช่วงต้นสาย และ 4 เลนในช่วงกลางและปลายสาย นายคำรบลักขิ์กล่าว

"ส่วนผู้ที่จะกำกับดูแลและก่อสร้างเมืองใหม่ตามที่มีการตกลงกันไว้ คือ 1.จะมีคณะกรรม การที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 2.มีผู้ที่จะต้องไปทำงานในสาระต่างๆ ส่วนตัวสแกนเนอร์ต้องมีคณะหนึ่งที่ต้องอธิบายได้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง จากนั้นไปจ้างกลุ่มยูดีซี เอเบิ้ลดี เวลลอปเม้นท์ว่าต้องทำอย่างไร ต้องมีแผนก่อนจึงนำแผนไปกำหนดปริมาณ และมีกรมโยธาฯ กรมทหารช่าง การไฟฟ้าฯมาดำเนินการก่อสร้าง เสร็จแล้วกลับสู่ฐานที่ตั้งเดิม นี่คือผู้รับเหมา ส่วนองค์กำกับคือรัฐบาลที่มาในรูปของกรรมการเป็นงบฯปกติ" นายคำรบลักขิ์กล่าว

[Top]

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า