banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก
ลำดับเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก
สมัยรัตนโกสินทร์ - ยุคอำนาจนิยม (2500 - 2535)

2500- 17 พฤษภาคม, ตั้งโรงเรียนองครักษ์ อ.องครักษ์
- สำนักวัฒนธรรมทางวรรณกรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ จัดพิมพ์หนังสือ นครนายก, รวบรวมโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และคณะกรมการจังหวัดนครนายก เนื่องในโอกาสการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2500

2501- 10 มิถุนายน, การประปานครนายก เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรก

2502- รัฐบาลจอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์ตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ (ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ)

2502-05- กองทัพบกตั้งกองพันทหารสื่อสารที่เขาชะโงก ต่อมาขยายเป็นโรงเรียนนายสิบทหารสื่อสาร

2503- รัฐบาลจอมพลสฤษด์ ธนะรัชต์ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรก (ปีงบประมาณ 2504-09)

250- 11 กันยายน, ประกาศให้เขาใหญ่ เป็นอุทยานแห่งชาติ นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของไทย

2509- รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สอง (2510-14)
- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 2 (ปีงบประมาณ 2510-14)

2514- มีการสำรวจโครงการสร้างเขื่อนในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ระงับไว้ชั่วคราว เนื่องจากเลขาธิการนิยมไพรสมาคมคัดค้าน
- ชาวบ้านนครนายกเรียกร้องให้มีการสร้างเขื่อน "บ้านท่าด่าน" (เหวนรก) อ. ปากพลี
- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 3 (ปีงบประมาณ 2515-19)

2515- คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักศึกษาได้ดำเนินขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร นายดุสิต บุญธรรม ชาวนครนายก ที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองคณะปฏิวัติ (รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร) เป็นผู้จัดหางบประมาณให้ นายพิสิฐ เจริญวงศ์ อาจารย์คณะโบราณคดี (ขณะนั้น) เป็นผู้อำนวยการขุดค้น

2516-18- นางปรานี วงษ์เทศ อาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเข้าไปศึกษาวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่บ้านหนองหัวลิง และหนองแสง อ. ปากพลี และได้ศึกษาเพลงกล่อมเด็กของลาวพวน

2518- บริษัทศีรษะกระบือ จำกัด ยกที่ดินจำนวน 947 ไร่ 2 งาน อ.องครักษ์ ให้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในสมัยศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปัจจุบัน

2517- กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดค้นโบราณสถานดงละคร
- มีการศึกษาเรื่อง "การสังสรรค์วัฒนธรรมของชาวไทยมุสลิมในหมู่บ้านช่องตะเคียน อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก" โดยประสิทธิ์ ตาตินิจ

2518- 31 ธันวาคม, เริ่มการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดนครนายก โดยเริ่มที่ อ.บ้านนาและอ.องครักษ์

2519- 26 ธันวาคม, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ตรวจภูมิประเทศที่จะสร้างเขื่อน "บ้านท่าด่าน" (เหวนรก)
- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 4 (ปีงบประมาณ 2520-24)

2520-23- การดำเนินการสร้างโครงการท่าด่าน ซึ่งเป็นโครงการพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อนำน้ำในคลองท่าด่านไปใช้ประโยชน์ ด้วยการก่อสร้างฝ้ายคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นคลองท่าด่าน

2520- สร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ริมถนนสุวรรณศร นอกเขตเทศบาล (ศาลากลางหลังเดิมอยู่ในตัวเมือง)

2521- งานบูรณะวัดใหญ่ทักขิณาราม อ.เมือง

2522- พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรโครงการชลประทานคลองท่าด่าน ต.หินตั้ง อ.เมือง นครนายก
- 1-7 มีนาคม, งานผูกพัทธสีมาวัดใหญ่ทักขิณาราม ต.บ้านใหญ่ อ.เมือง (อุโบสถหลังใหม่)
- งานสมโภช 80 ปี วัดพระคริสตประจักษ์ บ้านเล่า ต.ท่าทราย อ.เมือง

2523- 8 มกราคม, กองทัพบกจัดตั้ง "โครงการเกษตรรวมใจอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" บริเวณเขาชะโงก เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณเขาชะโงก ต่อมา คือ "ศูนย์พัฒนาการเกษตรเบ็ดเสร็จ"
- กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายก ที่โรงเรียนนครนายกวิทยาคม

2524- 5 สิงหาคม, พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าแห่งใหม่ที่เขาชะโงก พันเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จฯ
- 11 - 13 สิงหาคม, ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกจัดนิทรรศการ "เอกลักษณ์ไทย" พร้อมจัดพิมพ์หนังสือ "เอกลักษณ์ไทย"
- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 5 (ปีงบประมาณ 2525-29)
- โรงเรียนเทคนิคนครนายกได้รับการยกฐานะเป็นวิทยาลัยเทคนิคนครนายก (กำเนิดมาจากโรงเรียนประถมอาชีพ (2479) แล้วพัฒนาเป็นโรงเรียนช่างไม้นครนายก (2493) โรงเรียนการช่างนครนายก (2499) โรงเรียนเทคนิคนครนายก (2522) ตามลำดับ)

2525-30- โครงการพัฒนาลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำนครนายก เป็นโครงการพระราชดำริ ก่อสร้างทำนบดินปิดกั้นลำน้ำสาขาแม่น้ำนครนายก

2525-26- ดำเนินการโครงการพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำทรายทอง

2526-27- ดำเนินการโครงการพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำคลองโบด

2525- ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกจัดพิมพ์ "การละเล่นของเด็กจังหวัดนครนายก."
- ตั้งศูนย์วิชาชีพนครนายก (ยกฐานะเป็นวิทยาลัยการอาชีพนครนายก, 2534)

2526- 1 มิถุนายน, เริ่มก่อสร้างโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก

2528-30- ดำเนินการโครงการพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยปรือ

2528- นางทองอยู่ รักษาพล ได้รับการประกาศเป็น ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น สาขาเพลงพื้นบ้าน จังหวัดนครนายก (เพลงระบำบ้านนา) ถึงแก่กรรมปีเดียวกัน
- 1 กุมภาพันธ์, เปิดโรงพยาบาลอำเภอบ้านนา
- งานสมโภช 75 ปี วัดนักบุญยอแซฟ หนองรี ต.ศรีกะอาง อ.บ้านนา นครนายก
- 25 กรกฎาคม?, ชาวบ้านนครนายกทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวภูมิพลอดุลยเดช เรื่องขอให้ทรงสร้างเขื่อนเหวนรก

2529- 30 กรกฎาคม, พันเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระดำเนินนำนายทหารและนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เข้าสู่ที่ตั้งใหม่ ณ เขาชะโงก
- 5 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พันเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จฯ
- 29 พฤศจิกายน, พระบาทสมเด็จพระเจ้าหัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทอดพระเนตรอ่างเก็บน้ำคลองทราย ต.เขาพระ และอ่างเก็บน้ำคลองโบด ต.พรหมณี อ.เมือง นครนายก
- ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครนายกเผยแพร่ "ข้อมูลทางวัฒนธรรม จังหวัดนครนายก" เรียบเรียงโดย ปริศนา สำราญกิจ (อัดสำเนา - เย็บเล่ม)
- โครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคกลาง) ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร มีนายสุรพล นาถะพินธุ เป็นผู้อำนวยการขุดค้น
- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 6 (ปีงบประมาณ 2530--34)

2530- กองทัพบกตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ สังกัดส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า มีพันเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวิชาฯ

2531- กองทัพบกยกฐานะ "โครงการเกษตรรวมใจอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็น "ศูนย์พัฒนาการเกษตรเบ็ดเสร็จ"
- มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ เริ่มโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ ศูนย์องครักษ์ จังหวัดนครนายก เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของการพัฒนาทรัพยากรบุคคล และวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และอุตสาหกรรมแขนงต่างๆ

2532-33- ตุลาคม 2532 - กุมภาพันธ์ 2533, กองโบราณคดี กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นแหล่งโบราณคดีดงละคร สนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อประกาศเขตโบราณสถาน และเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการ นายนิคม มูสิกะคามะ ผู้อำนวยการกองโบราณคดี เป็นผู้อำนวยการ นายพิสิฐ เจริญวงศ์ เป็นผู้อำนวยการขุดค้นทางวิชาการ

2532- 4 มกราคม, มีการเรียกร้องให้รัฐบาลรื้อฟื้นโครงการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำเหวนรก โดยการนำของ พ.ต.ท. บุญเลิศ เลิศปรีชา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายก
- ก่อตั้งโรงเรียนปิยชาติพัฒนา สนองพระราชดำริพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
- 19 พฤษภาคม, พระราชวรนายก (เกตุ สิริวฑูฒโน) เจ้าคณะจังหวัดนครนายก เจ้าอาวาสวัดอุมธานี ต.บ้านใหญ่ อ.เมืองนครนายก เริ่มดำเนินการหล่อ "หลวงพ่อพุทธสัมฤทธิ์ สิทธิโชค นครนายกอภิปูชนีย์"
- 1 สิงหาคม, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตร "โรงช้าง" หรือ "คอกช้าง" ณ หมู่ที่ 5 ต. ป่าขะ อ.บ้านนา จ. นครนายก และทรงพระราชทานแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์เมืองนครนายก นับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษา ประวัติศาสตร์นครนายกอย่างเป็นระบบ
- 15 สิงหาคม, จังหวัดนครนายกแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาประวัติศาสตร์เมืองนครนายก
- กองโบราณคดี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ "รายงานผลการปฏิบัติงานที่แหล่งโบราณคดีดงละคร บ้านดงละคร ต.ดงละคร อ.เมือง จ. นครนายก ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2532." โดยอาณัติ บำรุงวงศ์ และคณะ
- กองโบราณคดี กรมศิลปากร จัดพิมพ์ "รายงานเบื้องต้นเรื่อง แหล่งโบราณคดีดงละคร" โดยอมรา ศรีสุชาติ
- 1 ธันวาคม, มีการประชุมครั้งแรกในการวางแผนสร้างมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ ในสมัย ดร. ชาตรี เมืองนาโพธิ์ เป็นอธิการบดี

2533- 29 มกราคม, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรแหล่งโบราณคดีดงละคร
- 13 กุมภาพันธ์, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรสถานที่ตั้งค่ายทหารญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 บริเวณพื้นที่รอบโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 17 กุมภาพันธ์, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเสนอบทความเรื่อง "นครนายกกับสงครามโลกครั้งที่ 2 " ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" จัดโดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 17 กุมภาพันธ์, นิคม มูสิกะคามะ เสนอบทความเรื่อง "เมืองดงละคร: งานโบราณคดี" ในการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" จัดโดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมประวัติศาสตร์แห่งประเทศไทย ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- 18 กุมภาพันธ์, พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ นำผู้ร่วมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง "ภาษากับประวัติศาสตร์ และความเคลื่อนไหวในวิชาประวัติศาสตร์ไทย" ทัศนศึกษาโบราณสถานในจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดนครนายก
- 10 สิงหาคม, เปิดสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดนครนายก
- โรงเรียนปิยชาติพัฒนาเปิดสอนเป็นปีแรก
- กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์ สาระสังเขปเอกสารจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จังหวัดนครนายก เอกสาร กรมราชเลขาธิการ รัชกาลที่ 5 – รัชกาลที่ 7
- จังหวัดนครนายกจัดพิมพ์ "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก" (อัดสำเนา-เย็บเล่ม)

2534-37- โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง "ประวัติศาสตร์เมืองนครนายก" ในความรับผิดชอบของกองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา

2534-44- มหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒเริ่มดำเนินการตามโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยศรีนคินทรวิโรฒ ศูนย์องครักษ์ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และ 8

2534- ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งฉบับที่ 7 (ปีงบประมาณ 2535-39)

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

-