banner Histdept

Vmenu

ประวัติศาสตร์นครนายก
ลำดับเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก
สมัยรัตนโกสินทร์ - ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย (2475-2500)

2475- ย้ายที่ว่าการอำเภอวังกระโจมหลังเก่าไปใช้ศาลจังหวัดหลังเก่า ศาลจังหวัดย้ายไปสร้างใกล้ที่ว่าการอำเภอวังกระโจมหลังเดิม

2476- เริ่มดำเนินการโครงการนครนายกอีกครั้งหนึ่ง (แล้วเสร็จ บางส่วนปี 2479 แล้วเสร็จทั้งหมดปี 2497)
- ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานเทศบาล พ.ศ. 2476
- รองอำมาตย์ ก้าน สภานนท์ ครูใหญ่ โรงเรียนนครส่ำสงเคราะห์ (นครนายกวิทยาคม) โรงเรียนประจำจังหวัดนครนายก ได้เรียบเรียงประวัติเมืองนครนายก และได้สรุปจากคำบอกเล่าว่า ชื่อเมืองนครนายกมาจากการไม่เก็บค่านา (ยกค่านา) จากราษฎรของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่ง ในอดีต
- 15 พฤศจิกายน, มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก พันเอกพระยาวิเศษสิงหนาท (หร่าย รัตนกสิกร) ได้รับเลือกตั้ง

2477- วัดอุดมธานีก่อตั้ง "โรงเรียนนายกวัฒนากร" เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 นับเป็นโรงเรียนการกุศลของ วัดพุทธศาสนาแห่งแรกในไทย
- สร้างวัดพระนางมารีย์ ผู้มีปฏิสนธินิรมล ต.บางสมบูรณ์ อ.องครักษ์

2478- กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนดงละคร ต. ดงละคร เป็นโบราณสถาน
- ยกฐานะสุขาภิบาลวังกระโจม เป็นเทศบาล

2479- มิถุนายน, ตั้งโรงเรียนประถมอาชีพ ที่วัดส้มป่อย โดยการสนับสนุนของพระครูสุขุม สมาจารย์ หลวงบรรณาสารประสิทธิ์ (เจ้าเมือง) และขุนสรรเทพพิสาร (ธรรมการเมือง) [2483 ย้ายโรงเรียนไปที่วัดป่าเรไร พัฒนาเป็นโรงเรียนช่างไม้ นครนายก (2493) โรงเรียนการช่างนครนายก (2499) โรงเรียนเทคนิคนครนายก (2522) วิทยาลัยเทคนิคนครนายก (2524) ตามลำดับ]
- กรกฎาคม, ตั้งโรงเรียนบ้านนา (นครนายกพิทยากร)

2480- 7 พฤศจิกายน, มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายกมีสถิติผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ร้อยละ 80.50
- ตั้งโรงเรียนสิงห์ประสาทวิทยา ในสังกัดวัดนักบุญยอแซฟ หนองรี อ.บ้านนา นครนายก
- กำเนิดสุขศาลาปู่วัง-ย่าเคลือบ อ.บ้านนา โดยการบริจาคของปู่วัง ย่าเคลือบ สุขชม สุขศาลานี้พัฒนาเป็นโรงพยาบาล บ้านนาในปัจจุบัน

2481- เปลี่ยนชื่อ อ.วังกระโจม เป็นอำเภอเมืองนครนายก
- 17 พฤศจิกายน, มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครนายกมีสถิติผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด ร้อยละ 67.36
- มีสภาจังหวัดเกิดขึ้น มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด สมาชิกสภาจังหวัดมาจากเลือกตั้งทางอ้อม

2483- เริ่มใช้ตราประจำจังหวัด รูปช้างชูรวงข้าว และมีกองฟางอยู่ด้านหลัง

2484- ทางราชการเปลี่ยนชื่อบ้านใหญ่ลาว อ.เมือง นครนายก เป็น ต.บ้านใหญ่
- 27 มีนาคม, กระทรวงกลาโหมเสนอโครงการสร้างโรงงานทำหินที่เขาชะโงก (แต่ในที่สุดไม่ได้ดำเนินการตามโครงการ)
- ธันวาคม, ญี่ปุ่นยกทัพผ่านนครนายกไปกรุงเทพฯ

2486- 1 มกราคม, ยุบ จ.นครนายก ไปขึ้น จ.ปราจีนบุรี
- อ. เมืองนครนายก อ.ปากพลี และอ.องครักษ์ ไปขึ้น จ.ปราจีนบุรี อ.บ้านนา ไปขึ้น จ.สระบุรี
- เปลี่ยนชื่อ อ.เมืองนครนายก เป็น อ.นครนายก
- พล.ท. อาเคโตะ นากามูระ ผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 18 ของญี่ปุ่น หรือกองทัพ "งิ" ไปสำรวจภูมิประเทศ จ.นครนายก
- ญี่ปุ่นตั้งกองทหารที่นครนายก และเขาชะโงก เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป. ไม่ยอมให้ไปตั้งกองทหารที่ จ. ปราจีนบุรี และสระบุรี ตามคำขอของญี่ปุ่นในปี 2487

2489- 9 พฤษภาคม, ตั้ง จ.นครนายกขึ้นใหม่

2495-96- พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนครสวรรค์วรพินิตทรงสร้างสวนเรียกว่า วังตะไคร ้เป็นที่ประทับพักผ่อนส่วนพระองค์ หลังเสด็จสิ้นพระชนม์ในปี 2502 ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตรได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม

2495- 12 กรกฎาคม, มีพิธีวางศิลาฤกษ์ที่ว่าการอำเภอเมือง

2497- ตัดถนนสุวรรณศร

2498- ประกาศใช้ พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีการเลือกสมาชิกสภาจังหวัดโดยตรง

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

-