banner Histdept

Vmenu

ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

พ.ต.ผศ. ศรศักร ชูสวัสดิ์ รวบรวม

1908 - เศรษฐีชาวยิวในยุโรปตะวันตกเริ่มเข้าไปซื้อที่ดินในดินแดนปาเลสไตน์ แม้สุลต่านตุรกีซึ่งปกครองจักรวรรดิออตโตมานไม่เห็นด้วยกับการตั้งถิ่นฐานชาวยิวในดินแดนดังกล่าว มีการตั้ง Kibbutz หรือสหกรณ์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของทะเล Galilee
1917 - 2 พฤศจิกายน, Arthur J. Balfour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีสารถึง Lord Rothschild แสดงความตั้งใจของรัฐบาลอังกฤษที่จะสนับสนุนการตั้งรัฐของชาวยิวในดินแดนปาเลสไตน์ "His Majesty’s Government view with favour the establishment in Palestine of a national home for the Jewish people . . . it being clearly understood that nothing shall be done with may prejudice the civil and religious rights of existing non-Jewish communities".
1918 - ผลจากการแพ้สงครามที่ทำกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย อังกฤษและฝรั่งเศสเข้าไปดูแลดินแดนตะวันอกกลางในฐานะดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ
1922 - สันนิบาตชาติรับรองให้อังกฤษดูแลดินแดนปาเลสไตน์ โดยอังกฤษต้องปฏิบัติตามประกาศ Balfour ในการจัดตั้งรัฐของชาวยิว
1948 - การสถาปนาสาธารณรัฐอิสราเอล
- สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้งที่ 1 ยุติลงด้วยการที่อิสราเองยึดครองดินแดนได้มากกว่าเดิมที่ได้ไว้เมื่อตั้งประเทศ
1952 - การปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์ในอียิปต์ (King Farouk) โดยพันโท Gamal Abdel Nasser
1955 - Bagdad Pact เป็นสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันทางทหาร เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของสหรัฐฯ เพื่อปิดล้อมสหภาพโซเวียตทางด้านตะวันออกกลาง ตุรกี อิรัก อิหร่าน อังกฤษ และปากีสถาน ลงนามร่วมกัน แต่สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าร่วม เพราะเกรงว่าจะทำให้อียิปต์ไม่พอใจ แต่สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจและทหารแก่ประเทศสมาชิก (5 มีนาคม 1959 สหรัฐฯ ทำสัญญาร่วมมือกันระดับทวิภาคีกับตุรกี อิหร่าน และปากีสถาน ต่อมาอิรักถอนตัวออกจากสนธิสัญญาและยกเลิกพันธะสัญญาทางทหารและเศรษฐกิจที่มีกับสหรัฐฯ มีการย้ายสำนักงานของ Bagdad Pact ไปยังกรุงอังกาลา, ตุรกี 18 สิงหาคม ปีเดียวกันนี้ มีการเปลี่ยนชื่อองค์การเป็น Central Treaty Organization (CENTO) ต่อมาถูกยุบไปหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านปี 1979)
1956 - วิกฤตการณ์คลองสุเอซ (Suez Crisis) และสงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้ง 2 อิสราเองบุก Gaza Strip และคาบสมุทรไซไน (Sinai) เพื่อเปิดให้ฝรั่งเศสและอังกฤษส่งทหารเข้ายึดคลองสุเอซ ซึ่งก่อนนี้อียิปต์ประกาศยึดเป็นของรัฐ สงครามยุติลงด้วยการที่อิสราเอลถอนทหารออกจาก Gaza Strip และคาบสมุทร Sinai
1958 - ทหารนาวิกโยธินสหรัฐฯ บุกซีเรีย เนื่องจากเกิดกบฏในซีเรีย
1960 - การสถาปนาองค์การผู้ส่งออกน้ำมัน - OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) ซาอุดีอาระเบียเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญในการก่อตั้ง
1964 - การสถาปนาองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ - PLO (Palestine Liberation Organization)
1965 - การตั้งหน่วย al-Fatah อย่างเป็นทางการ หลังจากก่อตัวและดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1950
1967 - สงครามหกวัน (สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้ง 3) ยุติลงด้วยการที่อิสราเอลยึดครองฉนวน Gaza เยรูซาเลมตะวันตก ที่ราบสูง Golan และดินแดนของคาบสมุทรไซไนจนถึงคลองสุเอซ
- Algeria ประกาศสงครามกับอิสราเอล และตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐฯ และหันไปร่วมมือด้านการทหารและเศรษฐกิจกับสหภาพโซเวียต
1968 - พรรคบาธในอิรักขึ้นมามีอำนาจ มีการโอนธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นของรัฐ
1969 - Muammar al-Qaddafi ปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์ในลิเบีย
1970 - War of Attrition ระหว่างอียิปต์กับอิสราเอล
1973 - Yom Kippur War (สงครามอาหรับ-อิสราเอลครั้ง 4) อียิปต์และซีเรียเข้าบุก Gaza Strip และ Golan Heights สงครามยุติลงด้วยการที่อิสราเอลตีโต้ และได้ดินแดนเพิ่มขึ้นอีก
- ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำในการงดและลดการผลิตน้ำมันดิบ
- กัดดาฟี ผู้นำลิเบียเริ่มปฏิวัติวัฒนธรรมในลิเบีย และใช้แนวทางสังคมนิยมในการพัฒนาประเทศ และโอนอุตสาหกรรมสำคัญเป็นของรัฐ
- การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นสาธารณรัฐใน Afghanistan
1978 - การปฏิวัตินองเลือดใน Afghanistan โดยฝ่ายซ้ายนิยมสหภาพโซเวียต (ปีต่อมาสหภาพโซเวียตส่งทหารเข้าไปช่วยเหลือรัฐบาลปฏิวัติสู้รบกับพวกต่อต้าน อีกสิบปีต่อมาสหภาพโซเวียตจึงถอนทหารออกไป)
- อียิปต์เริ่มเจรจากับอิสราเอลที่ Camp David สหรัฐฯ เพื่อหาทางตกลงสันติภาพ และตกลงกันได้ (Camp David Accords)
1979 - มกราคม, เกิดการปฏิวัติอิสลามในอิหร่าน ปลายปีมีการบุกยึดสถานทูตสหรัฐฯ และจับนักการทูตอเมริกันเป็นตัวประกัน
- Saddam Hussein หัวหน้าพรรค Baath Socialist Party ขึ้นเป็นประธานาธิบดีอิรัก
- 26 มีนาคม, อิยิปต์และอิสราเอลลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกตามความตกลง Camp David Accords ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาติอาหรับอื่นๆ และปาเลสไตน์
- 27 ธันวาคม, สหภาพโซเวียตบุกอัฟกานิสถาน เพื่อสนับสนุนการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาล Hafizullah Amin
1982 - อิสราเอลโจมตีเลบานอน เพื่อปราบพวกปาเลสไตน์
- สหรัฐฯ (สมัยประธานาธิบดี Reagan) ทหารนาวิกโยธินเป็นส่วนหนึ่งของกองกลังนานาชาติไปดูแลการถอนกำลังของ PLO ออกจากเลบานอน
1983 - 18 เมษายน มีการระเบิดสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุง Beirut เลบานอน และกองบัญชาการนาวิกโยธิน มีทหารเสียชีวิตกว่าสองร้อยคน
1984 - สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากเลบานอน
1986 - Iran - Contra Affair (Irangate)
1980-88 - Iraq-Iran War
1986 - สหรัฐฯ แซงชั่นลิเบีย ให้ชาวอเมริกันออกนอกประเทศ ยึดทรัพย์สินลิเบียในสหรัฐฯ โดยอ้างว่าลิเบียโดยการนำของ Qaddafi ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย มีการยิงปะทะกันที่อ่าว Sidra
1987 - Intifadah (uprising) หรือการลุกฮือของชาวปาเลสไตน์ครั้งที่ 1
1989 - สหภาพโซเวียตถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน
1990-91 - สงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) มีสาเหตุจากอิรักบุกคูเวต ต่อมาสหประชาชาติโดยการนำของสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือคูเวต และสามารถขับไล่อีรักออกจากคูเวตได้ โดยสหรัฐฯ นำทิ้งระเบิดและขีปนาวุธถล่มอิรัก หลังจากพ้นกำหนดให้อิรักถอนทหารออกจากคูเวต
- มีการประชุม Madrid Peace Conference ในเดือนตุลาคม 1991 เป็นการเริ่มต้นการเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลางอีกครั้งหนึ่ง โดยสหรัฐฯ และสหภาพโซเวียตร่วมกันจัดขึ้น มีตัวแทนจากอิสราเอล ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน และปาเลสไตน์ มีการเจรจาระหว่างจอร์แดนกับอิสราเอล และซีเรียกับอิสราเอล
1992 - ฝ่ายต่อต้านในอัฟกานิสถานสามารถล้มรัฐบาลนิยมสหภาพโซเวียตลงได้ แต่นำไปสู่การต่อสู้ระหว่างพวกหัวรุนแรงกับพวกสายกลาง
- UN รับข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่จะจัดส่งทหารเข้าไปดูแลการขนส่งอาหารใน Somalia เพื่อแก้ไขปัญหาความอดอยากและฟื้นฟูความสงบเนื่องจากสงครามกลางเมืองตั้งแต่ปี 1991 และความแห้งแล้ง สุดท้ายในปี 1994 สหรัฐฯ ต้องถอนตัว เนื่องจากถูกต่อต้าน จนกระทั่งมีทหารบาดเจ็บล้มตาย
1993 - 22 พฤษภาคม, ซีเรียรับรองเอกราชของเลบานอน ด้วยการลงนามในสนธิสัญญากับเลบานอน
- สหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธถล่มหน่วยสืบราชการลับของอิรักในเดือนมิถุนายน โดยอ้างว่ามีหลักฐานว่า อิรักวางแผนลอบสังหารอดีตประธานาธิบดี Bush ระหว่างเยือนคูเวตในเดือนเมษายน 1993
- Oslo Peace Process ปี 1993 ขบวนการสร้างสันติภาพที่กรุงออสโลว์ เริ่มด้วยการเจรจาลับระหว่าง PLO-Israel ที่กรุงออสโล นอร์เวย์ เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 1987-93 (Intifadah ครั้งที่ ) การเจรจาครั้งนี้ประสบความสำเร็จ มีการประนีประนอม นายกรัฐมนตรี Yitzhak Rabin และนายอาราฟัต ลงนามในประกาศหลักการที่วอชิงตัน
1996 - ฝ่าย Taliban เป็นฝ่ายชนะในการแย่งชิงอำนาจในอัฟกานิสถาน สามารถยึดกรุง Kabul ได้และจัดตั้งรัฐบาล
- สหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธถล่มอิรัก
1998 - 22 กุมภาพันธ์ สหรัฐฯ และอังกฤษถล่มเป้าหมายทางทหารในอิรักทางอากาศ เนื่องจากอิรักไม่ยอมให้ UN เข้าไปตรวจสอบหาแหล่งผลิตอาวุธร้ายแรง
- 20 สิงหาคม สหรัฐฯ ยิงขีปนาวุธจากเรือรบถล่มบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของกรุง Kabul ของอัฟกานิสถาน โดยอ้างว่าเพื่อทำลายค่ายฝึกพวกก่อการร้าย ซึ่งดำเนินการโดย Osama bin Laden
1999 - UN ประกาศแซงชั่นอัฟกานิสถาน ภายหลังจากอัฟกานิสถานปฏิเสธส่งตัว Osama bin Laden ให้สหรัฐฯ
2000 - Intifadah ครั้งที่ 2
- มีการประชุม Sharm el-Sheikh Summit ปี 2000 สหรัฐฯ พยายามแก้ไขปัญหาการลุกฮือ (Intifadah ครั้งที่ 2) โดยจัดให้มีการประชุมสุดยอดที่สถานพักตากอากาศที่ Sharm el-Sheikh อียิปต์ เมื่อ 17 ตุลาคม 2000 มีประธานาธิบดีคลินตันเป็นประธาน ที่ประชุมประกาศแผนการยุติความรุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ แต่สถานการณ์รุนแรงขึ้นภายหลังจากนายชารอนได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในเดือนกุมภาพันธ์ 2001
2001 - Mitchell Report ปี 2001 จากการประชุมที่ Sharm el-Sheikh อียิปต์ เดือนตุลาคม 2000 สหรัฐฯ ตั้งคณะกรรมาธิการนำโดยอดีตวุฒิสภา George Mitchell ไปศึกษาหาสาเหตุของความรุนแรงในตะวันออกกลาง (การลุกฮือครั้งที่ 2) ต่อมาได้มีการเสนอรายงาน “Report on Israel-Palestine Violence” หรือ Mitchell Report ในเดือนเมษายน 2001 และเผยแพร่อย่างเป็นทางการในเดือนถัดมา
- The Tenet Plan ปี 2001 เป็นแผนหยุดยิงและสร้างความมั่นคงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ เสนอโดย George Tenet ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (CIA) เมื่อ 13 มิถุนายน 2001 เพื่อให้เป็นไปตาม Mitchell Report

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า