banner Histdept

Vmenu

พระราชพจนารถ
พลเอกหญิง ศาสตราจารย์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ส่วนนี้อัญเชิญพระราชพจนารถ (Quotations)ซึ่งพลเอกหญิง ศาสตราจารย์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
พระราชทานในวโรกาสต่างๆ ในการทรงงานที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามารวมไว้ด้วยกัน
การทหาร | อาชีพครูทหาร | ประวัติศาสตร์ | ทัศนศึกษา

การทหาร
" ทหาร นอกจากจะเป็นผู้มีเกียรติ มีวินัย มีความกล้าหาญแล้ว ยังเป็นผู้รักวิชาการ รักการค้นคว้า หาความรู้
ที่สำคัญที่สุด คือความโอบอ้อมอารี เข้าใจเพื่อนร่วมงาน สอดส่องดูแลความเป็นอยู่ของผู้ใต้บังคับบัญชา "

ที่มา: "พระราโชวาทในพันเอกหญิงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานแก่นักเรียนนายร้อยชั้นปีที่ 5 พ.ศ. 2530, 25 พฤศจิกายน 2530." ใน ทูลกระหม่อมอาจารย์. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงรับราชการครบ 10 ปี พ.ศ. 2523 - 2533 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ (2 เมษายน 2534), หน้า 168 -169.

[Top]

อาชีพครูทหาร
ข้าพเจ้าเพิ่งสำเร็จการศึกษา มีความกระตือรือร้นที่จะทำอะไรที่สร้างสรรค์ ทำตัวให้เป็นประโยชน์
แก่ประเทศชาติและสังคมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งไปกว่านั้น ข้าพเจ้ายังมีใจรักที่จะเป็นครู จึงตกลงใจที่รับราชการที่นี่

ที่มา: "10 ปี ในรั้วแดงกำแพงเหลือง" เสนาศึกษา, เล่ม 56 ตอน 6 (มิถุนายน-กรกฎาคม 2533 ): หน้าพิเศษ.

...นักเรียนนายร้อยในสายตาของข้าพเจ้า จึงเป็นเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ เป็นผู้ที่จะทำงานสร้างสรรค์ความเจริญ
เพื่อการก้าวไปข้างหน้าของประเทศไทยในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ร่วมกับเยาวชนของชาติที่ได้รับการอบรม
อีกนับแสนนับล้านคนจากสถาบันอื่นๆ ข้าพเจ้าก็ได้มีส่วนเล็กๆ ที่ถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้เท่าที่มีแก่เยาวชนส่วนหนึ่ง

ที่มา: "10 ปี ในรั้วแดงกำแพงเหลือง" เสนาศึกษา, เล่ม 56 ตอน 6 (มิถุนายน-กรกฎาคม 2533 ): หน้าพิเศษ.

ด้วยใจรัก จึงสมัครเป็นทหาร
เพื่อสรรค์สร้างงาน คุ้มประเทศบำรุงไทย

ที่มา: "ตอนหนึ่งของบทพระราชนิพนธ์ในพันเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแก่วงมโหรี โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า เพื่อบรรเลงสดุดีเนื่องในวันปิยมหาราช 23 ตุลาคม 2529" ใน ทูลกระหม่อมอาจารย์. โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงรับราชการครบ 10 ปี พ.ศ. 2523 - 2533 และทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ (2 เมษายน 2534), หน้า 31.

[Top]

ประวัติศาสตร์
... ขอให้ตั้งใจเป็น "นักประวัติศาสตร์" ที่ดีคือ รู้จักสังเกต ไต่ถาม
จดจำและนำสิ่งที่ศึกษาจดจำมาได้ วิเคราะห์หาเหตุผลที่ถูกต้องต่อไป...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี."คำนำ" ใน อีสานเหนือ. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, 27-30 พฤษภาคม 2532.

... เวลานี้เขาพูดกันว่าโลกแคบ ถึงการสื่อสารดี การคมนาคมติดต่อกันดี เหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นในเมืองไทยภายใน 2 วินาที
ทางอเมริกาก็อาจจะทราบได้แล้ว เรื่องที่เกิดที่อเมริกา 2 วินาที คนไทยก็ทราบ ซึ่งถือว่าโลกแคบด้วยเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้นในชีวิตประจำวันของนักเรียน และของคนที่นักเรียนจะต้องไปพบด้วยจะต้อง รับรู้และทราบเรื่องราวเหล่านั้น ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ" วิชาประวัติศาตร์โลก" ทรงบรรยายเมื่อภาคต้น
ปีการศึกษา 2533

วิชาประวัติศาสตร์ที่สอนในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าถือว่าเป็นการศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ หรือกลุ่มชน
ในทุกแง่ทุกมุมของชีวิตรวม ทั้งปัจจัยที่มีผลกระทบต่อชีวิต นับตั้งแต่สภาพสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ...
ความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางเทคโนโลยี...ความจำเป็นที่จะอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ...
นอกจากนั้นยังมีเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม...
ล้วนแต่เชื่อมโยงเกี่ยวพันกันมีหลักเกณฑ์ มีเหตุมีผลในการเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน อีสานใต้. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, 25-27 พฤษภาคม 2533.

...การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทำให้เราเข้าใจสังคมของเรา ทั้งในด้านสิ่งที่เป็นมาแล้ว สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
และสิ่งที่จะดำเนินต่อไปในอนาคต ได้แจ่มชัดขึ้น...

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ." เอกสารประกอบคำสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย, 10 กันยายน 2535.

...งานเขียนทางประวัติศาสตร์ที่ดี ต้องมีการใช้ข้อมูลหลักฐานอย่างรอบด้านและวิพากษ์อย่างเป็นระบบ...

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก." เอกสารประกอบ คำสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย, 10 กันยายน 2535.

" เสนอรายงานที่มีการค้นคว้าด้วยระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้องและสื่อความเข้าใจให้ชัดเจน "

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ." เอกสารประกอบคำสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย, 10 กันยายน 2535.

... หัดพิจารณาวิเคราะห์เรื่องต่าง ๆ ที่ได้ฟังมาตามวิธีทางประวัติศาสตร์ ...

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ." เอกสารประกอบคำสอนวิชาประวัติศาสตร์โลก, 21 เมษายน 2536.

... การเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสังคมโลก มีความสำคัญและมีประโยชน์ เพราะนักเรียนจะสามารถนำข้อมูล ข่าวสารและความรู้
ที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลดีต่อหน่วยงาน
โดยส่วนรวม ซึ่งย่อมหมายถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ช่วยพัฒนาให้คิดอ่านกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล
และปรับตัวเข้ากับกระแสความเปลี่ยนแปลง ...

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ." เอกสารประกอบคำสอนวิชาประวัติศาสตร์โลก, 21 เมษายน 2536.

... การเรียนรู้ประสบการณ์ของมนุษย์ทำให้เรามีโลกทัศน์กว้างไกลขึ้น มีความคิดริเริ่มและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
บางคนเชื่อว่าความรู้ในทางประวัติศาสตร์จะเป็นแสงเทียนส่องให้เรามองเห็นอนาคตดีขึ้น แต่เราก็อย่าหวังเกินไป
มีใครบ้างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์คาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายในสหภาพโซเวียต
และมาพบจุดจบเมื่อขยายดินแดนมาประชิดประเทศไทย ..

ที่มา: พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "บทนำ." วิชาประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ทรงบรรยายเมื่อภาคต้น ปีการศึกษา 2537

... การเรียนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนนายร้อยมีจุดประสงค์หลักในการให้นักเรียนฝึกหัดวิธีการทางประวัติศาสตร์
ในการคิดหาเหตุผล มีสำนึกทางประวัติศาสตร์ ให้มีความรู้ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของบ้านเมือง
ในฐานะที่เป็นประชาชนคนไทย ควรรู้รากเหง้าเรื่องราวของตนเอง ความรู้นี้จะเป็นพื้นฐานช่วยเชื่อมโยง
ให้เข้าใจสังคมไทยปัจจุบันดีขึ้น ให้รู้เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกในฐานะที่ประเทศไทย
เป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ทั้งหมดนี้มีส่วนเอื้อให้การทำงานดีขึ้น ...

ที่มา: "พลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์ในฐานะทรงเป็น "ครูประวัติศาสตร์" ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า 9 ธันวาคม 2537." เพราะขอบฟ้ากว้าง (โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสพลโทหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 40 พรรษา, 2 เมษายน 2538), หน้า 34.

[Top]

ทัศนศึกษา
... การเรียนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ เราจะเรียนรู้จากเอกสารหนังสือหรือคำบอกเล่าของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คำบรรยายของอาจารย์ ... การไปดูสถานที่ซึ่งเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้น ดูศิลปะหรือสิ่งก่อสร้างหรือวัฒนธรรมของชุมชน
ที่เป็นเจ้าของประวัติศาสตร์ ก็จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ได้ดีขึ้น ดังคำที่ว่า "สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น" ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน อีสานเหนือ. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พรจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, 27-30 พฤษภาคม 2532.

ครูอยากให้นักเรียนได้รู้จักจังหวัดในภาคเหนือว่า มีลักษณะทางกายภาพอย่างไร ฉะนั้น ถ้ามีโอกาส
อยากให้ดูภูมิประเทศตั้งแต่อยู่ในเครื่องบิน และสองข้างถนนในขณะเดินทางรถ อาจเปรียบเทียบกับ
แผนที่ภูมิประเทศ สภาพพื้นที่ ความสูงต่ำ สภาพหินดิน มีความสัมพันธ์กับพืชพันธุ์ธรรมชาติ
(นักเรียนอาจดูเปรียบเทียบกับแผนที่ธรณีวิทยาที่อยู่ห้องสมุด ) และพืชพันธุ์ที่ปลูกขึ้น
ซึ่งอาจไม่เหมือนกับภาคอื่นที่นักเรียนเคยเห็น ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน ล้านนา. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคเหนือตอนบน, 25-28 พฤศจิกายน 2532.

... การไปดูวัดหลาย ๆ แห่ง จะได้ความรู้มาก เพราะวัดเป็นศูนย์รวมของสังคม เราจะได้เห็นประวัติความเป็นมาของบริเวณนั้น
ลักษณะทางศิลปะ และความเชื่อท้องถิ่น อิทธิพลทางวัฒนธรรมจากภายนอก มีความแตกต่างจากภาคกลางอยู่บ้าง ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน ล้านนา. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคเหนือตอนบน, 25-28 พฤศจิกายน 2532.

... การไปชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จะช่วยให้ได้เห็นสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ในภูมิภาค ในพื้นที่ที่เราไม่มีเวลาไปดู
มีทั้งโบราณวัตถุ และศิลปะพื้นบ้าน ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน ล้านนา. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาภาคเหนือตอนบน, 25-28 พฤศจิกายน 2532.

... บางครั้งเราอาจจะอดเสียมิได้ที่จะนึกย้อนกลับไปว่า แต่ก่อนสถานที่ซึ่งเรากำลังยืนอยู่
เป็นทางดำเนินชีวิตของบรรพชนไม่รู้จักเท่าไร ที่ผ่านความสุข ความทุกข์ นานาประการ
ได้มาและสูญเสียสิ่งต่าง ๆ จนผืนแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินไทยที่เป็นของเรา
ที่เราจะต้องถนอมรักษาไว้ให้อยู่ต่อไปอย่างดี ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน สามนคร น่าน แพร่ อุตรดิตถ์. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์ เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาภาคเหนือ, 3-6 พฤศจิกายน 2533.

... การได้ออกไปเห็นพื้นที่หลาย ๆ แห่ง จะเป็นการเพิ่มประสบการณ์ชีวิต แต่ถ้าเราขาดความสังเกต ขาดความรู้
ข้อมูลพื้นฐาน และไม่ได้ให้เวลา พินิจพิเคราะห์แล้ว ก็จะได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควร ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน สามนคร น่าน แพร่ อุตรดิตถ์. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์ เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาภาคเหนือ, 3-6 พฤศจิกายน 2533.

... ดูการทำมาหาเลี้ยงชีพของคนในพื้นที่ มีทั้งที่อาศัยความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณครั้งปู่ย่าตายาย
และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ทั้งด้านการเกษตร ด้านการชลประทาน ความเป็นอยู่ของประชาชน
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อมีวัฒนธรรมหรือเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
และต่อสภาพสังคมการปรับตัวของคนในพื้นที่ การปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานของรัฐทุก ๆ หน่วย และภาคเอกชนในพื้นที่
ที่จะทำให้สิ่งที่เกิดใหม่ก่อผลเสียต่อพื้นที่สืบต่อไปในอนาคตให้น้อยที่สุด ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน ทักษิณฝั่งทะเลตะวันออก. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส พลตรีหญิง สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯทรงนำ คณะอาจารย์ และนักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทัศนศึกษาภาคใต้ฝั่งตะวันออก, 23-26 พฤษภาคม 2534.

... เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าดินแดนที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แต่โบราณ เมืองต่าง ๆ ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
ก็ยังคงมีความสำคัญต่อ ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นอยู่ของสังคมปัจจุบัน ที่มีปัญหาต่าง ๆ
ในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ปัญหาประชากร มีจำนวนมาก ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด ปัญหาการกระจายรายได้ไม่เป็นธรรม
การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม ปัญหาการพัฒนา และการอนุรักษ ์เป็นต้น การแก้ไขหรือ
การปรับตัวให้เข้ากับภาวะที่เกิดขึ้น จะต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์ข้อมูล จะต้องวิเคราะห์ด้วยความเที่ยงตรง
ดังนั้นขอให้เราทุกคนเปิดใจให้กว้างขวางที่จะสังเกต ฟัง และคิด และหวังว่า สิ่งที่จะได้รับในสี่วันนี้จะเป็นประโยชน์
ต่อชีวิตของทุกๆ คนที่ได้ร่วมเดินทาง ในภายภาคหน้าสืบต่อไป

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน อู่อารยธรรม. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้าจัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษาพื้นที่ภาคกลาง, 9-12 พฤศจิกายน 2534.

... ในการเดินทางครั้งนี้ ... สำคัญที่สุด เราจะได้เห็นความสืบเนื่องที่ต่อกันเป็นลูกโซ่จากอดีตมาถึงปัจจุบัน
ส่งผลไปถึงอนาคตอันไกลต่อ ๆ ไป ...

ที่มา: พลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. "คำนำ" ใน บูรพาทิตย์. กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสพลตรีหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ทรงนำคณะอาจารย์และนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าทัศนศึกษา พื้นที่ภาคตะวันออก, 11-14 มิถุนายน 2535.

[Top]

footer ©กองวิชาประวัติศาสตร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า